ภูมิปัญญาไทย.com

ภูมิปัญญาไทย

   ชาติไทย เป็นชาติที่มีศิลปะวัฒนธรรม และประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
 โดยปรากฎหลักฐาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นงานประณีตศิลป์จำนวนมาก ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์ ประดิษฐ์ ขึ้นมา
 ด้วยความเพียรพยายาม ประณีต วิจิตร บรรจง สืบต่อกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี หรืออาจถึงพันปี งานที่จัดว่าเป็นประณีต
 ศิลป์ของไทย ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่งานศิลปะดังต่อไปนี้

     1. เครื่องเงินไทย หมายถึง เครื่องเงินชนิดที่ทำเป็นเครื่องรูปพรรณ เครื่องถม และเครื่องลงยาสีที่ทำในประเทศไทย
 ทำด้วยโลหะเงินมาตรฐาน ให้มีโลหะอื่น ๆ เจือปนได้ไม่เกิน ร้อยละ 7.5 ของ น้ำหนัก ส่วนประกอบของเครื่องเงินไทย
  ต้องแข็งแรง ทนทาน มีลวดลายที่ชัดเจน เรียบร้อย
     ในประเทศไทยมีหลักฐานของการใช้โลหะเงินมาตั้งแต่ ก่อนยุคทวาราวดี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละท้องถิ่น ภาคใต้
 ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยเฉพาะ เครื่องเงินของล้านนา นับว่ามีชื่อเสียงมาก กระบวนการผลิตเครื่องเงิน มีขั้นตอนสำคัญ
 3 ขั้นตอน คือ
     1. การหลอม เป็นขั้นตอนแรกในการผลิต เป็นการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อใช้ทำงานขั้นต่อไป
     2. การขึ้นรูป เป็นการเตรียมภาชนะให้เป็นรูปแบบตามต้องการ โดยทั่วไป มี 6 ปบบ คือ การขึ้นรูปด้วยค้อน ด้วยการตัดต่อ
 ด้วยการหล่อ ด้วยการชักลวด ด้วยการสาน และด้วยการบุ
     3. การตกแต่งเครื่องเงิน เป็นการทำงานขั้นสุดท้าย เพื่อให้เกิดความสวยงาม วิธีการตกแต่งเครื่องเงินโดยทั่วไป มี 7 ลักษณะ
   คือ การสลักดุน  การเพลา  การแกะลายเบา  การถมยาดำ  การถมยาทอง หรือตะทอง การลงยาสี และการประดับหรือฝังอัญมณี
    ลวดลายที่ปรากฎอยู่ในเครื่องเงินไทย มักเป้นลวดลายธรรมชาติ รูปเทวดา รูปสัตว์หิมพานต์ รูปตัวละครในวรรณคดี รูปสัตว์
  12 ราศี และลวดลายไทย

    2. เครื่องทอง เป็นสินแร่ที่มีราคา และมนุษย์นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุในการแลกเปลี่ยน ความสำคัญของทองเกิดจาก
  การที่มีค่าสูงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ มากนัก มีคตวามสวยงาม มีสีเหลืองสว่างสดใสปละมีประกายสุกปลั่ง
  เสมอ ไม่เป็นสนิม มีความอ่อนเหนียวจนสามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางมาก ๆ ขนาด 0.000005 นิ้วได้ และเป็นโลหะที่
  ไม่ละลายในกรดชนิดใด แต่จะละลายได้อย่างช้า ๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดินประสิวกับกรดเกลือ
     กระบวนการในการทำเครื่องทอง ในอดีต มีหลายวิธีแตกต่างกันออกไป ตามแต่เทคนิค หรือวัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ ดังนี้
  คือ การหุ้ม  การปิด(การลงรักปิดทอง) การบุ  การดุน  การหล่อ  การสลัก  การาไหล่หรือกะไหล่ การคร่ำ เป็นต้น เครื่องทอง
  ที่นิยมทำกันมัก เป็นวัตถุเกี่ยวกับของสำคัญ และมีค่า เช่น เครื่องราชูปโภค เครื่องยศ เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ
  เครื่องพุทธบูชา เครื่องประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา พระพุทธรูป พระพิมพ์ แผ่นทองจารึก(สุพรรณบัฏ) ฯลฯ

    3. เครื่องถม จัดเป็นงานประณีตศิลป์ชนิหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ และสืบทอดต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับ
  ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของเครื่องถมไว้ว่า " เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาดำผสมน้ำประสานทอง
 ถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะ หรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง
  ถมเงิน..." เครื่องถม มีหลายประเภท จำแนกได้ดงันี้
    1. ถมดำ หรือ ถมเงิน เป็นการทำเครื่องถมที่เก่าที่สุด ทำโดยการแกะสลักลวดลาย ลงบพื้นผิวภาชนะเครื่องเงิน จนเป็นร่องลึก
 แล้วลงยาถมดำลงไปในร่องลึกนั้นจนเต็ม
    2. ถมตะทอง โดยการใช้ "ทองเปียก" เป็นแผ่นทองบดละเอียดผสมปรอทบริสุทธิ์แล้วนำมาถมลายที่สลักไว้
    3. ถมปัด ทำจากภาชนะที่เป็นทองแดงและลงน้ำยาสีต่าง ๆ
  
    4. เครื่องมุก การประดับมุก เป็นงานประณีตศิลป์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ในการตกแต่งวัสดุให้สวยงามของคนไทย
  มาแต่โบราณ โดยใช้เปลือกหอยมุก ซึ่งมีทั้งหอยมุกทะเล และหอยมุกน้ำจืด นำมาฉลุเป็นลวดลายชิ้นเล็ก ๆ ประดับลงไป
 บนภาชนะ บานประตู หน้าต่าง ตู้ ฯลฯ โดยใช้รักสีดำ เป็นตัวเชื่อมให้ชิ้นมุก เกาะติดฝังลงไปกับภาชนะ หรือวัสดุ สีขาวแกม
  ชมพูและความแวววาวของหอยมุก จะตัดกับสีดำของรัก ทำให้ภาชนะ เครื่องใช้ หรือวัตถุชิ้นนั้น ๆ สวยงามมาก ภาชนะที่
 นิยมประดับมุก ได้แก่ พาน กล่อง หีบ เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์ ถาด ฯลฯ

    5. ไม้แกะสลัก ไม้ที่นิยมนำมาแกะสลักมากที่สุด คือ ไม้สัก ไม้ตะเคียน ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ชนชาติไทยมีฝีมือ
 ทางด้านการแกะสลักไม้มาแต่โบราณ และมีศิลปวัตถุที่แกะสลักจากไม้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในภูมิภาคแถบนี้ มีไม้สัก
 และไม้อื่นๆ ที่นำมาแกะสลักได้จำนวนมาก แต่ปัจจุบันได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หาได้ยากขึ้น ไม้แกะสลักมักนำมาทำเป็น
 บานประตู หน้าต่าง พระพุทธรูป ลวดลายประดับตกแต่งอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ การแกะสลักไม้ มีขั้นตอนที่สำคัญ ๆ
 อยู่ 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบลวดลาย การแกะสลักลาย และการตกแต่ง

  6. เครื่องปั้นดินเผาไทย  มนุษย์รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา มาตั้งแต่สมัยหินกลาง ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อ 10,000-7,000 ปี
 มาแล้ว และทำกันมาจนถึงปัจจุบัน ในทุกภูมิภาคของโลก อาจกล่าวได้ว่า ชาติใด ๆ ก็รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผาทั้งสิ้น ใน
 ประเทศไทย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาอยู่ทุกภูมิภาค ในสมัยดั้งเดิมเป็นการเผาดินดิบ ต่อมามีการเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ และ
 พัฒนามาสู่การเขียนลวดลายลักษณะต่าง ๆ จากสีเดียว (เอกรงค์) มาเป็นหลายสี (พหุรงค์) ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งใช้สี
 5 สี เรียกว่า ลายเบญจรงค์ และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการเขียนลายทอง ที่เรียกว่าเบญจรงค์ลายน้ำทอง

   7. งาช้างแกะสลัก เป็นงานประณีตศิลป์ที่มีความละเอียด และต้อใช้ฝีมือที่เชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง โดยปกติงาช้างเป็นของมีค่า
 ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี เดิมมีสีขาวนวล เมื่อนานไป อาจเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นถึงน้ำตาล และมีรอยแตกราน อย่างที่เรียกว่า
 แตกลายงา งาช้างสลักนิยมนำมาทำเป็น พระพุทธรูป กล่อง หรือตลับ ตราสัญลักษณ์ ตุ๊กตา ด้ามหรือปลอกมีด ฯลฯ

    8. เรือพระราชพิธี เป็นงานประณีตศิลป์อีกประเภทหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งผูกพันกันแม่น้ำมาตั้งแต่โบราณกาลโดยใช้เรือ
  ชนิดต่าง ๆ เรือพระราชพิธี มักใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นริ้วขบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัว เสด็จ
 พระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และพระราชพิธี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การจัดชบวนพยุหยาตรา
 ทางชลมารคนี้ กล่าวได้ว่า มีวิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือ ในยามว่างจึงมีการจัดขบวนทัพเพื่อฝึกซ้อม มีการตกแต่ง
 เรืออย่างสวยงาม และมีการประโคมดนตรี ไปในแระบวนเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย ถือเป็นการแสดงออกถึงความ
 เป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติไทยและพระราชวงศ์ ซึ่งมีอารยธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาล

0 comments

Post a Comment