ภูมิปัญญาไทย.com

ภูมิปัญญาไทย

การทำทอง

Posted by baby 20121018

 การทำทอง

 


“ช่างทำทอง” ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ด าเนินกิจการโดยนายทำนอง รุ่งสีทอง เปิดร้านขายและรับสั่งทำทองรูปพรรณรูปแบบต่าง ๆ และมีลูกมือช่างอีก ๓–๔ คนเป็นผู้ช่วยทำ ความสำคัญของงานช่างทำทองจัดอยู่ในประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ (การทำตัวเรือน เครื่องประดับ) ต้องใช้ฝีมือในการออกแบบการตกแต่งอย่างมาก ส่วนว่าจะมีความเป็นศิลปะหรืองานช่างอย่างใดอย่างหนึ่งมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาความตั้งใจของผู้ประดิษฐ์สร้างสรรค์เครื่องประดับชิ้นนั้นออกมา ถ้าผู้สร้างหวังผลทางเศรษฐกิจก็มีความจ าเป็นต้องศึกษาความต้องการของตลาดและสร้างงานให้สอดคล้องกันไป ยึดหลักความชอบและไม่ชอบของกลุ่มคนลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญ อีกทั้งการผลิตชิ้นงานก็จะทำให้มีจ านวนปริมาณมาก ๆ ให้พอเพียงกับความต้องการของตลาดและลูกค้าอีกด้วย
กรณีช่างทำทองที่อำเภอพานทอง ลักษณะเครื่องประดับมีรูปแบบที่เป็นศิลปะค่อนข้างมาก มีการเน้นรูปทรงแปลกใหม่และความงามตามความคิดของช่าง จึงมีผลให้ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมามีศิลปลักษณะที่แปลกใหม่ไม่ซ้ ากับผลงานของผู้อื่น (มีความเป็นต้นแบบอยู่มาก) เช่นเดียวกับผลงานศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ได้สะท้อนถึงแนวความคิด อุดมคติและความงามของแบบเป็นหลัก ซึ่งหลักคิดดังกล่าวช่างทำทองที่พานทองได้ยึดถือและสืบทอดกันมานานกว่า ๕๐ ปี ตั้งแต่รุ่นบิดา-มารดาจนถึงรุ่นปัจจุบัน (นายทำนอง รุ่งสีทอง) ทำให้การทำทองของทางร้าน “ร้านรุ่งสีทอง” ได้รับความนิยมของลูกค้าทั้งในและนอกจังหวัด อีกทั้งยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายจากหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่เห็นคุณค่าของงานช่างประเภทนี้


การจัดเก็บข้อมูลของงานช่างทำทองในครั้งนี้ช่วยให้ฐานข้อมูลและองค์ความรู้บางส่วนได้มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบไม่ให้เกิดการสูญหาย และจะเอื้ออำนวยต่อผู้สนใจสามารถมาศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดฝึกอบรมให้กับผู้สนใจเพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการ เคล็ดลับการทำทองรูปพรรณที่เป็นกลวิธีเด่น ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการ พร้อม ๆ ไปกับมีฐานความรู้และคู่มือประกอบอย่างชัดเจนก็จะช่วยให้ประโยชน์บังเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์


ทองคำ (Gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม ๗๙ และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานชิชั่นสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่และใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ กับทั้งใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับงานทันตกรรมและอุปกรณ์อีเล็กทอรนิกส์ คุณสมบัติของทองคำมีความแวววาวอยู่เสมอเมื่อสัมผัสถูกอากาศสีทองจะไม่หมองและไม่เป็นสนิม นอกจากนั้นทองคำยังมีความอ่อนตัวเป็นพิเศษด้วยทองคำเพียง ๒ บาท จะสามารถนำมายืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง ๘ กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง ๑๐๐ ตารางฟุต
มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ ๕,๐๐๐ ปี เป็นโลหะที่มีค่าความเหนียว (ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือยืดขยาย (extend) เพื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทางไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด โดยเฉพาะทองคำบริสุทธิ์จะไม่ทำปฎิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีนและน้ำประสานทอง ดังนั้นด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ข้างต้น จึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานาน ด้วยการนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ และทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับ อีกทั้งทองคำเป็นโลหะชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่ ความงดงามมันวาว (lustre) ความคงทน (durable) ความหายาก (rarity) และการนำกลับไปใช้ประโยชน์ (reuseable) จึงทำให้ทองคำโดดเด่นและเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะที่มีค่าทุกชนิดในโลก
“ช่างทำทอง” ร้านรุ่งสีทอง ที่ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ได้ทำกิจการนี้มาแต่ครั้งบิดา-มารดา เป็นรุ่นแรก ต่อมานายทำนอง รุ่งสีทอง ได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้มาอีกรุ่นหนึ่งตั้งแต่เมื่อเขาเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ (ตอนนั้นอายุได้ ๑๓ ปี) ด้วยการฝึกหัดการทำทองรูปพรรณ ซึ่งในระยะแรกจะทำกันเฉพาะคนในครอบครัว ต่อมาด้วยฝีมืออันประณีตงดงามบวกกับการทำทองมานานกว่า ๕๐ ปี ได้มีผลให้การทำทองของร้านรุ่งสีทองได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างต่อเนื่องไม่เพียงภายในจังหวัดชลบุรีเท่านั้น จังหวัดอื่น ๆ ก็ให้ความสนใจแวะเวียนเข้ามาสั่งทำและซื้อหาชิ้นงานจากทางร้านอยู่มิได้ขาด ซึ่งจากฝีมือและความสามารถในการทำทองจึงมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้มอบรางวัลต่าง ๆ ให้ทางร้านมากมาย
ในส่วนขั้นตอนและกระบวนการผลิตนั้น มี ๑. เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตทองรูปพรรณ ได้แก่ เบ้าหลอมทอง รางเททอง ปากคีบ แป้นดึงลวด คีบดึงลวด หีบลม ขวดน้ำมัน กล้องเป่าไฟ เครื่องรีด กระดานทนไฟ แกบทองเหลือง เครื่องตีเงา เป็นต้น ๒. ขั้นเตรียมการ ๓.
ขั้นการผลิต และ ๔. ขั้นหลังการผลิต โดยในแต่ละขั้นตอนทางร้านจะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับลูกมือช่างไว้อย่างชัดเจน
ข้อมูลช่างทำทองที่พานทองนี้เป็นกรรมวิธีการทำทองแบบโบราณและที่ร้านทองที่ยังคงอนุรักษ์สืบสานวิธีการรูปแบบเช่นนี้มีอยู่ไม่มากเช่นที่จังหวัดเพชรบุรีประการสำคัญการทำทองที่พานทองจะเน้นงานออกแบบเครื่องประดับและให้ความสำคัญกับต้นแบบความเป็นผลงานที่มีความงามเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้จะไม่ค่อยปรากฎกับร้านทำทองทั่ว ๆ ไป ประกอบกับช่างทำทองที่มีความรู้แบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำเช่นที่ร้านรุ่งสีทอง (นายทำนอง รุ่งสีทอง) ก็มีไม่มากนัก หากไม่มีการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ (ขั้นตอน กรรมวิธี กลวิธี) อย่างเป็นระบบพร้อมไปกับถอดรหัสองค์ความรู้และขั้นตอนการทำอย่างชัดแจ้งไว้ ต่อไปคงจะขาดผู้สืบทอดอย่างแน่นอน ในการนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติน่าที่จะให้ทุนการศึกษาวิจัยในเชิงลึกสำหรับช่างทำทองที่พานทองนี้เป็นการเฉพาะ

dsc00270is


“ช่างทำทอง” เป็นการประดิษฐ์เครื่องประดับของตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี มีนายทำนอง รุ่งสีทอง เป็นผู้รับด าเนินกิจการมาจากบรรพบุรุษอีกทอดหนึ่ง งานเครื่องประดับของที่นี่ มีลักษณะพิเศษตรงที่การออกแบบให้มีรูปทรงแปลกใหม่ เน้นความเป็นต้นแบบผลงานไม่ซ้ าแบบใคร และมีความงามเช่นเดียวกับผลงานศิลปะ การเน้นมูลค่าในตัวผลงานเครื่องประดับอยู่เสมอเช่นนี้ ได้มีผลให้ผลงานที่ผลิตออกมาจากร้านรุ่งสีทองนี้เป็นที่ยอมรับในฝีมือ รูปแบบ และความสวยงามมาโดยตลอด จนมีลูกค้าจากถิ่นต่าง ๆ ภายนอกจังหวัดชลบุรีได้เดินทางมาที่อำเภอพานทองเพื่อสั่งทำเครื่องประดับอยู่มิได้ขาด
การทำทองรูปพรรณของนายทำนอง รุ่งสีทอง เป็นการทำทองตามกรรมวิธีโบราณที่มีความประณีต มีการออกแบบลวดลายไม่ซ้ าแบบใคร และหาตัวจับยากในอำเภอพานทอง ซึ่งนายทองได้รับการถ่ายทอดฝีมือการทำทองมาจากบิดา-มารดาตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี และก็ได้สืบสานกรรมวิธีแบบดั้งเดิมมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตทองรูปพรรณ รวมถึงขั้นตอนในขบวนการผลิตซึ่งจะได้รับความพิถีพิถันเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนจนผลงานสำเร็จสมบูรณ์ และมีลักษณะพิเศษของชิ้นงานที่ทำ คือ ลวดลายโบราณเช่น ฝักแค ลูกคล้อง กล้ามกุ้ง ปะวะหลั่ม และประคำสร้อยเป็นลวดลายที่สืบทอดมาจากรุ่นก่อน ๆ


ความสำคัญของช่างทำทองที่อำเภอพานทองหากพิจารณาในเชิงคุณค่าแล้วก็อาจกล่าวได้ว่า มีบริบทที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญมีทั้งด้าน “คุณค่า” และ “มูลค่า” พร้อมกันไปคือ มีคุณค่าในทางสุนทรียะ ภูมิหลัง รวมถึงจิตใจที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิตของช่างและตัวผลงานเอง และมีมูลค่าในตัววัตถุดิบ (ทอง) ที่นำมาใช้ในการทำเครื่องประดับแต่ละชิ้น เช่น ปริมาณมากน้อย (น้ำหนัก) ของทองย่อมมีราคาสูงต่ าขึ้นลงไปตามจ านวนของทองเป็นต้น ประการสำคัญที่เป็นปัจจัยประกอบไปกับการทำทองที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือ ประโยชน์ใช้สอยของชิ้นงานที่ช่างได้บรรจงออกแบบให้สามารถใช้งานได้ตามคุณลักษณะ เช่นใช้สวมใส่ ใช้ห้อย ใช้ติด ฯลฯ ดังนั้นผลงานการทำทองในประเด็นข้างต้น จึงเป็นชิ้นงานที่มีคุณค่าทั้งความงามและประโยชน์ใช้สอยควบคู่กันไป




“ช่างทำทอง” ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นช่างทำทองรูปพรรณแบบโบราณที่มีความประณีตและสวยงาม ตามภูมิหลังงานช่างฝีมือที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือการทำทองมาจากบิดา-มารดา ตอนนั้นนายทำนอง รุ่งสีทอง มีอายุเพียง ๑๓ ปี (ปัจจุบันอายุ ๕๙ ปี) หลังจากเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ แล้ว จึงได้เริ่มฝึกหัดการทำทองรูปพรรณเพราะทางบ้านประกอบอาชีพทำทองขายอยู่แล้ว ในระยะแรกจะทำกันเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น ลูก ๆ ทุกคนจะเรียนรู้วิชาทำทองและทำสืบทอดเป็นอาชีพตลอดมาเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี จนงานช่างทำทองของทางร้าน “รุ่งสีทอง” ได้มีการพัฒนาลวดลายและฝีมือการประดิษฐ์จนเป็นที่นิยมของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกจังหวัดชลบุรี และยังได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมายจากหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนเป็นจ านวนมาก
การทำทองที่พานทองนั้นมีนายทำนอง รุ่งสีทอง เป็นผู้ด าเนินการและมีลูกมือช่างเป็นผู้ช่วยอีก ๓-๔ คน มีการแบ่งหน้าที่ไปตามความถนัดและความสามารถของช่างแต่ละคน โดยมีวิธีการทำ วิธีทำ (Knowhow) ดังต่อไปนี้


๑. เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตทองรูปพรรณ มีเครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการทำทองหลายชนิดและแบบได้แก่ เบ้าหลอมทอง รางเททอง ปากคีบ แป้นดึงลวด คีมดึงลวด หีบลม ขวดน้ำมัน กล้องเป่าไฟ เครื่องรีด กระดานทนไฟ แกนทองเหลือง และเครื่องตีเงา
๒. ขั้นตอนกระบวนการผลิต
๒.๑ ขั้นเตรียมการ ทางร้านจะต้องเตรียมจ านวนทองคำตามน้ำหนักที่ต้องการ และแบ่งจ านวนทองคำตามสัดส่วนของน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่จะจัดทำ
๒.๒ ขั้นการผลิต อาจแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยได้ดังนี้
๒.๒.๑ นำทองมาหลอมแล้วนำไปดึงลวดตามอัตราส่วนของลวดลายต่าง ๆ
๒.๒.๒ นำมาพันแกนหรือดัดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อใช้ร้อยสร้อยหรือประกอบเป็นลวดลายต่าง ๆ
๒.๒.๓ นำมาประกอบกันโดยใช้น้ำประสานทองเป็นวัสดุประสาน
๒.๒.๔ ทำหัวจรวดแล้วติดลวดลายในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงตีตะขอหรือทำหัวเสียบ
๒.๓ ขั้นหลังการผลิต อาจแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
๒.๓.๑ ต้มน้ำกรดเพื่อทำความสะอาดและล้างน้ำกรดให้สะอาด
๒.๓.๒ นำไปขัดเงาในเครื่องตีเงา
๒.๓.๓ นำไปล้างน้ำกรดเพื่อทำความสะอาด ส่วนระยะเวลาในการผลิตจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชิ้นงาน โดยมีเวลาการทำประมาณ ๓–๒๐ วัน ตามแต่ลวดลายที่สั่งทำ
ปัจจุบันนายทำนอง รุ่งสีทอง เปิดร้านทำทองรูปพรรณอยู่ที่ ๔๐/๔ หมู่ ๘ ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ ๐๓๘–๔๕๑๒๖๗



ภูมิปัญญาเชิงช่างงานทำทองที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ที่ยังด ารงคงอยู่ในตัวลวดลายโบราณได้แก่ ลวดลายฝักแค ลูกคล้อง กล้ามกุ้ง ปะวะหลั่ม และประคำสร้อย เป็นต้น ลักษณะรูปแบบลวดลายข้างต้น ถึงแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไปแต่ความนิยมของลูกค้าในแบบอย่างลวดลายตามกรรมวิธีช่างไทยโบราณก็หาได้ลดความสนใจลงไปไม่ว่าจะเป็น ต่างหู สร้อยคอ ฯลฯ ในแต่ละวันจะมีลูกค้าจากถิ่นต่าง ๆ แวะเวียนเข้ามาสั่งทำอยู่มิได้ขาด โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีจะมีเทศกาลงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง และบรรดาข้าราชการหญิง ภริยาหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน แม่ค้านักธุรกิจ ฯลฯ มักนิยมแต่งชุดไทย ผ้าไทย เพื่อเข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว การมีเครื่องประดับตกแต่งด้วยทองรูปพรรณที่มีรูปแบบสอดคล้องกับการแต่งกายแบบไทยจึงเป็นที่นิยมในจังหวัดชลบุรี
กรณีงานช่างทองที่อำเภอพานทองหากพิจารณารูปแบบลวดลายบางลักษณะจะมีความคล้ายคลึงกับการทำทองที่จังหวัดเพชรบุรีอยู่มาก สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลในกรรมวิธีการทำและลวดลายอยู่บ้างไม่มากก็น้อย (ต้องศึกษาวิจัยเฉพาะด้านอีกครั้ง) ข้อมูลตามการศึกษาในชั้นต้นจัดได้ว่าเป็นข้อมูลที่ควรศึกษาในเชิงลึกเพื่อทำการวิจัยต่อไป เนื่องจากวิธีการทำทองแบบนี้จะหาช่างทองที่ทำตามแบบโบราณได้น้อย และขาดผู้สืบสานอย่างเป็นระบบและครบวงจรในทุก ๆ แบบทุก ๆ ชนิด จึงทำให้องค์ความรู้ต่าง ๆ อาจจะสูญหายได้ในที่สุด ในเรื่องภูมิช่างทำทองที่พานทองนี้น่าจะเป็นการศึกษาวิจัยที่ลงลึกต่อไป โดยให้แบ่งรูปแบบ ประเภทของการทำทองรูปพรรณรวมถึงวิธีการทำอย่างชัดเจน


0 comments

Post a Comment