ภูมิปัญญาไทย.com

ภูมิปัญญาไทย

การประดับกระจก โดยประสงค์ตกแต่งสิ่งต่างๆ ให้มีความงามเพิ่มเติมขึ้นแก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น อาจจำแนก ประเภท ของลักษณะการประดับกระจกออกไปได้เป็น ๕ ประเภท ดังนี้

  1. ๑. การประดับกระจกประเภทพื้นลาย เป็นการประดับกระจก ทำเป็นพื้นผิวดาดๆ หรือ ทำเป็นลวดลายขึ้นบนพื้นราบ กึ่งราบหรือโค้ง ลักษณะผิวหน้าของชิ้นกระจกอยู่ในระดับเสมอกัน
  2. ๒. การประดับกระจกประเภทร่องกระจก เป็นการประดับกระจก ลงในพื้นร่องว่างที่เป็นช่องไฟ ระหว่างลวดลายสลักไม้ หรือปั้นปูนลงรักปิดทอง พื้นร่องว่างนั้น อยู่ต่ำกว่าลวดลาย โดยประสงค์ใช้กระจกสี เช่น สีคราม สีเขียว ช่วยขับลวดลายปิดทองคำเปลวให้ดูเด่นขึ้น เรียกว่า “ร่องกระจก”
  3. ๓. การประดับกระจกประเภทลายยา เป็นการประดับกระจกสีต่างๆ สีที่ได้รับการตัดแบ่งเป็นชิ้น ตามแบบลวดลาย และ ขนาดที่กำหนดลงในร่องตื้นๆ ซึ่งได้ขุดควักลงบนหน้ากระดาน ที่จะประดับกระจก งาน “ประดับกระจกลายยา” นี้ย่อมาจากคำว่า “กระยารง” แปลว่า “เครื่องสี“ และ การเรียกงานประดับกระจกประเภทนี้ว่า “ลายยา” ก็เป็นไปในเชิงเปรียบเทียบว่า ลวดลายประดับด้วยกระจกสีต่างสี ที่ปรากฏบนพื้นสีทองนั้นแลดูคล้ายกัน กับลวดลายเขียน ด้วยกระยารง หรือกระยาสี คือเครื่องสีนั่นเอง
  4. ๔. การประดับกระจกประเภทแกมเบื้อ เป็นการประดับกระจกสี ร่วมด้วยกันกับงานประดับมุก เพื่อเพิ่มเติมสีสันให้สวยงาม แก่งานประดับมุก คำว่า “เบื้อ” หมายถึง “มีแสงเลื่อมพราย” โดยปริยาย หมายถึงกระจก คำว่า “แกมเบื้อ” จึงหมายถึง “ปนด้วยกระจก”
พานแว่นฟ้า โดยวิธีการประดับกระจกประเภทแกมเบื้อ
รูปภาพ พานแว่นฟ้า โดยวิธีการประดับกระจกประเภทแกมเบื้อ เป็นการประดับกระจกสี ร่วมด้วยกันกับงานประดับมุก 
  1. ๕. การประดับกระจกประเภทสุดท้าย เป็นการปิดหรือติดกระจกทำเป็น “แวว” สอดประดับตกแต่งในตัวลายแบบต่างๆ ด้วยการตัดกระจกเป็นรูปหยดน้ำ กลม ปิดเป็นไส้ลายกระจัง ลายใบเทศ หรือ ลายดอกมะเขือ เป็นต้น

0 comments

Post a Comment