ภูมิปัญญาไทย.com

ภูมิปัญญาไทย

การทำกลองยาว



      เครื่องดนตรี เป็นเสียงที่มนุษย์คิดขึ้นโดยการเลียนจากเสียงธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสียงที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถโน้มน้าวจิตใจและอารมณ์ของผู้ฟังให้คล้อยตามได้ ซึ่งจัดว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่งของมนุษย์ทุกชนชาติทุกภาษา

        การที่จะสืบค้นว่าดนตรีเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นคงเป็นเรื่องยาก แต่สามารถพูดได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ก็เช่นเดียวกับศิลปะสาขาอื่นๆ ซึ่งในยุคแรกๆคงไม่ได้ร้องราทาเพลงเป็นเรื่องเป็นราว อาจใช้เสียงเป็นสัญญาณต่างๆ เช่น ปรบมือ เคาะหิน เป่าปาก เป่าใบไม้แทน เป็นต้น ต่อมาเริ่มมีการเปล่งเสียงร้องหรือแสดงท่าทางประกอบ แต่ในยุคนั้นคงทาเพื่อการอ้อนวอนพระเจ้าตามความเชื่อ แล้วพัฒนามาเป็นบทสวดต่างๆ จนกระทั้งยุคสมัยผ่านไปจึงวิวัฒนาการมาเป็นเสียงดนตรี
อย่างไรก็ตามเสียงดนตรีคงเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีเครื่องดนตรี มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนา
เครื่องดนตรีไปตามยุคสมัยและความเจริญ ความก้าวหน้าในด้านความคิด วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่
การขุดทากลองยาวของ นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่เป็นมารดกสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นงานช่างฝีมือพื้นบ้านที่บ่งถึงวิถีชีวิตแบบไทย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันทรงคุณค่าด้วยฝีมือคนไทยที่นับวันจะหาดูได้ยาก จึงควรเก็บข้อมูลนี้ไว้เพื่อเยาวชนได้ศึกษาค้นคว้าว่าการขุดทากลองยาวด้วยภูมิปัญญาไทยนั้นเขาทากันอย่างไร


ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ให้ความงามซึ่งสัมผัสด้วยการได้ยิน ดนตรีเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มมีความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม แต่มนุษย์ก็ให้ความสาคัญกับดนตรีจะเห็นว่ามนุษญ์ทุกชาติทุกภาษาใช้ดนตรีในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ละชาติจึงคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่แตกต่างกันออกไป
กลองยาว มีการตั้งชื่อตามลักษณะของกลอง คือเป็นกลองหน้าเดียว ที่มีรูปร่างกลมยาว ตัวกลองตอนหน้าใหญ่ใช้ขึงหนัง ตอนกลางเล็กเรียว และตอนปลายหรือฐานกลองบานคล้ายดอกลาโพง มีสายสะพายสาหรับสะพายบ่า กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นได้ในยุคต้นๆ และพัฒนารูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากมาย
เชื่อกันว่า กลองยาว ได้แบบอย่างมาจากพม่าในสมัยกรุงธนบุรีช่วงที่ไทยทาสงครามกับพม่า เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นกลองยาวกันสนุกสนาน คนไทยจึงได้นาแบบอย่างมาเล่นบ้าง จนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปตามหมู่บ้าน และมีการประยุกต์ใช้ลีลา ท่าตี ท่ารา เพื่อเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้น
นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นทายาทผู้ได้รับการถ่ายทอดงานช่างฝีมือการขุดทากลองยาวแบแบภูมิปัญญาไทยทาด้วยมือทุกขั้นตอน
เริ่มตั้งแต่การเลื่อยไม้แก่นขนุนต้นแก่ที่มีอายุครบ ๒๐ ปี หรือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ นิ้ว ให้เป็นท่อนๆละ ๙๐ เซนติเมตร ถากเปลือกออกด้วยขวานโยน และขึ้นรูปกลองแบบหยาบๆ จากนั้นหาจุดศูนย์กลางหน้ากลองทาวงกลมตามขนาดของกลอง และวงในตามหน้ากลอง แล้วจึงทาการขุดโพรงกลองด้วยสิ่วให้ทะลุถึงชานกลอง แต่งและขัดกระดาษทรายให้เรียบ เสร็จแล้วจึงนาหนังวัวที่ตากแห้งไว้มาขึงดึงให้ตึงด้วยเชือกหรือเอ็นเป็นอันเสร็จได้ตัวกลองยาว เวลาจะนาไปใช้ต้องตกแต่งด้วยผ้าหุ้มเฉพาะตัวกลองทาเป็นจีบระบายโดยรอบอย่างสวยงาม
นายทอง เภาเนือง ได้รวบรวมเพื่อบ้าน ญาติพี่น้องจัดตั้งกลุ่มผลิตกลองยาว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่ออนุรักษ์การขุดกลองยาวแบบภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหายและยังมีรายได้เสริมอีกทาง อย่างไรก็ตามงานช่างชนิดนี้นับวันจะมีน้อยลงทุกที บางแห่งก็ทาด้วยเครื่องจักร จึงควรเก็บข้อมูลการขุดทากลองยาวนี้ไว้เพื่อศึกษาค้นคว้าอีกทางหนึ่ง


ดนตรี เป็นสื่อกลางแห่งความเข้าใจของคนทุกชาติที่ได้สัมผัส เสียงดนตรีทาให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม เป็นสิ่งที่ทาให้จิตใจเบิกบานร่าเริง มนุษย์เรามีสมองที่ฉลาดล้าลึกสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่ทาให้เกิดเสียงต่างๆได้ แต่แหล่งกาเนิดเสียงที่นามาเป็นเสียงดนตรีเราเรียกว่า เครื่องดนตรี เสียงดนตรีได้แก่เสียง สูงๆ ต่าๆ สั้นๆ ยาวๆ แล้วนามาเรียบเรียงจนเกิดความไพเราะ มีอิทธิพลต่ออารมณ์ของมนุษย์อย่างมาก จะเห็นได้ว่าทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ มีดนตรีด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันไปก็คือเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีเป็นแหล่งกาเนิดเสียงดนตรีที่มนุษย์คิดค้นขึ้นนั้น ในแต่ละชนชาติจึงมีความแตกต่างกันไปตามความคิด สภาพแวดล้อมและวัสดุที่มีอยู่ในชาตินั้นๆ เครื่องดนตรีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าเสียงดนตรีเพราะเครื่องดนตรีมีบทบาทในชีวิตมาก่อน ในลักษณะสื่อสาร สัญญาณต่างๆ เช่น ปรบมือ ตีเกราะ เคาะไม้ เป่าปาก เป็นต้น
ดนตรี นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินทางอารมณ์แล้วยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมประจาชาติ ดังนั้นเครื่องดนตรีไม่ใช่จะเป็นแหล่งกาเนิดเสียงที่มีความไพเราะอย่างเดียวยังเป็นศิลปะของแต่ละชาตีที่มีรูปร่าง สีสัน ลวดลายการผลิต ตลอดจนการบรรเลง จังหวะ ลีลาและท่วงทานองที่บ่งบอกถึงเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้นๆด้วย
กลองยาว เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว ตัวกลองด้านบนที่ขึงหนังจะป่องออก ส่วนกลางเล็กเรียวเป็นท่อกลวง ตรงปลายหรือฐานกลองบานออกเป็นรูปดอกลาโพง ซึ่งเชื่อกันว่ากลองยาว ในเมืองไทยได้แบบอย่างมาจากพม่า ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าครั้งใด แต่สันนิษฐานกันว่าสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งพม่ามาตั้งค่ายทาสงครามกับไทย ในขณะพักรบพม่าได้นากลองยาวมาตีเล่นกันอย่างสนุกสนาน ไทยจึงได้นาแบบอย่างมาจากครั้งนั้นและมีการเล่นกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากกลองยาวมีสายสะพายบ่าสามารถเดินตีได้สะดวก จึงนิยมนิยมนาไปใช้ในขบวนแห่ต่างๆ เช่น แห่นาค ทอดกฐิน ผ้าป่า แห่ขันหมาก เป็นต้น กลองยาว มีลีลาจังหวะที่สนุกสนานเร้าใจ ทาให้ขบวนแห่รื่นเริง มีผู้ร่วมขบวนออกมาเต้นราโห่ร้องกันอย่างสนุกสนาน
นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการถ่ายทอดงานช่างฝีมือการขุดทากลองยาวมากว่า ๓๕ ปี และสามารถจัดตั้งเป็นวงกลองยาวรับแสดงในงานพิธีต่างๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ให้สูญหายแล้วยังเพิ่มรายได้อีกด้วย



การขุดทากลองยาว
การขุดทากลองยาว เป็นความรู้ ความคิดจากชาวบ้าน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การขุดทากลองยาวจึงนับได้ว่า เป็นการอนุรักษ์รักษางานช่างฝีมือพื้นบ้าน ที่บ่งบอกถึงความประณีต สวยงาม อันทรงคุณค่าด้วยฝีมือคนไทยในท้องถิ่น การขุดทากลองยาว ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นงานช่างฝีมือ ใช้วัตถุดิบ คือ ต้นขนุน ซึ่งไม่ใช่ไม้ป่า หรือไม้หวงห้าม การขุดทากลองยาว งานช่างฝีมือกลุ่มนี้ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ คือ นายบุญมี จุลภัณฑ์ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ถ่ายทอดการขุดทากลองยาว และการตี เพื่อให้เป็นจังหวะ กลุ่มงานช่างฝีมือส่วนใหญ่ คือ สมาชิกคนในชุมชนท้องถิ่น ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อปลูกฝังให้ชุมชนมีความสามัคคี และสืบทอดอนุรักษ์รักษาการขุดทากลองยาวต่อไป
ผู้รับการถ่ายทอด คือ นายทอง เภาเนือง ได้รับการถ่ายทอดประมาณ ๓๔ ปี และได้จัดตั้งกลุ่มผลิตกลองยาว พ.ศ. ๒๕๑๕ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่ออนุรักษ์รักษาการขุดทากลองยาวไม่ให้สูญหาย และเพื่อให้กลุ่มชุมชนในท้องถิ่นมีความรู้ในการขุดทากลองยาว รวมถึงให้มีรายได้จากผลงานชิ้นนี้
ข้อมูลช่าง / เจ้าของผลงาน
ชื่อช่าง นายทอง เภาเนือง
เกิดวันที่ ๑๓ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๗๗ หมู่ที่ ๘ ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
โทรศัพท์ ๐-๗๗๕๘-๔๑๐๖


กลุ่มช่าง

๑.นายจันทร์ดา จุลภัณฑ์
๒.นายประสิทธิ์ ดวงดี
๓.นายฉลอง เภาเนือง
๔.นายสุวรรณชัย เภาเนือง
๕.นายวิชัย ดวงดี
๖.นายสมจิตร ดวงดี
๗.นายแหยม สิงห์ทอง
๘.นายอุดม รวมทรัพย์
๙.นายฉลาด นาแล
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
- - ๒๕๐๓
๑๔ มี.ค. ๒๕๑๑
- - ๒๕๐๒
๘ ก.พ. ๒๕๑๔
๑๐ ก.ค. ๒๕๑๔
- - ๒๔๘๘
- - ๒๔๗๖
๓๑ ก.ค. ๒๔๙๙
๕ ม.ค. ๒๕๑๓

๑๐.นายวิศิษฐ์ เอื้อเฟื้อ
๑๑.นายบุญนาค เภาเนือง
๑๒.นายปราณี เภาเนือง
๑๓.นายจารัส สิงห์ทอง
๑๔.นายประสิทธิ์ สิงห์ทอง
๑๕.นายผัน เภาเนือง
๑๖.นายณัษฐพล จุลภัณฑ์
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
๑๓ พ.ค. ๒๕๐๐
๑๑ ก.พ. ๒๕๒๒
- - ๒๔๙๔
๑๔ พ.ค. ๒๕๑๔
๑ ก.พ. ๒๕๐๓
- - ๒๔๗๘
๒๗ พ.ค. ๒๕๐๖


วัสดุที่ใช้ในการผลิต

๑. ต้นขนุนแก่ๆ มีอายุประมาณ ๒๐ ปี
๒. หนังวัว ใช้หนังวัวเพศเมีย เพราะหนังบาง เสียงดี
๓. เชือก สาหรับนามาร้อยหนังวัวหน้ากลองให้ตึงและแน่น
แหล่งที่มาของวัสดุ ในท้องถิ่น คือ ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑. ขวานโยน หรือขวานถาก
๒. เลื่อย
๓. ตะขอ สาหรับขูดเนื้อไม้ในโพรงกลอง
๔. ค้อน สิ่ว ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ กระดาษทราย
๕. ขนมโก๋ แล็คเกอร์

ขั้นตอนกระบวนการผลิตและวิธีทำ


๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ ตัดต้นขนุนที่ต้นแก่ ๆ อายุประมาณ ๒๐ ปี กาลังดี
๑.๒ ตัดต้นขนุนเป็นท่อน ๆ ท่อนละ ๙๐ เซนติเมตร
๑.๓ เลื่อยเปลือก หรือถากเปลือกออกให้รอบทุกท่อน
๒. ขั้นตอนการผลิต มี ๕ ขั้นตอน คือ
๒.๑. ขั้นตอนการทาเอวกลองและฐานกลองด้านล่าง
๒.๑.๑ นาท่อนขนุนที่ถากเปลือกนอกออกแล้ว วัดตั้งแต่ขอบหน้ากลองลงไปประมาณ ๑ ฟุต ใช้ดินสอขีดเส้นรอบไว้ ตั้งแต่ส่วนนี้เรียกว่า เอวกลอง
๒.๑.๒ เริ่มถากตั้งแต่เอวงลงไปถึงปลายฐานด้านล่าง โดยใช้ขวานโยนถาก ช่วงปลาย
ฐานด้านล่างถากบานออกเพื่อสาหรับกลองวางได้ ความกว้างของหน้ากลองกับฐานกลองเท่ากัน

๒.๒. ขั้นตอนการขุดโพรงกลองยาว
๒.๒.๑ เมื่อถากได้เอวกลองและฐานกลองเสร็จ แล้ว วางไม้กลองตั้งขึ้น เพื่อวัดจุดศูนย์กลางของหน้ากลอง และวัดขอบกลอง โดยใช้ไม้แบน วางบนหน้ากลองตอกตะปู ๑ ตัว ตรงกลาง และขอบริมหน้ากลอง ๒ ตัว ตะปู ๒ ตัว ที่ขอบห่างกันประมาณ ๒ นิ้ว (ตอกตะปู ให้ปลายตะปูโผล่ติดไม้หน้ากลอง)
๒.๒.๒ หมุนไม้วัดให้รอบหน้ากลอง ปลายตะปูจะขีดหน้ากลองเป็นรอยเส้น ลึก
พอประมาณ รอยเส้นจะมีที่ขอบ ๒ เส้น และจุดกลาง ๑ จุด
๒.๒.๓ นาสิ่ว และค้อน ขุดเนื้อตรงกลางหน้ากลองออก ขุดไปเรื่อยๆ จนถึงเส้นขอบ ที่
วัดไว้ และขุดให้ลึก จนกระทั่งทะลุ สิ่วใช้ตัวเล็ก ไล่ไปตัวกลาง และตัวใหญ่สุด เพราะต้องขุดให้เป็นรูทะลุลงไปถึงฐานล่าง
๒.๒.๔ เมื่อขุดทะลุแล้ว ส่วนนี้เรียกว่า โพรงกลองยาว ภายในต้องใช้เหล็กตะขอคม
ขูดให้เรียบ และสม่าเสมอทุกส่วนจากด้านบน และจากด้านล่าง
๒.๒.๕ เมื่อขูดในโพรงกลองเสร็จแล้ว ตกแต่งภายนอกโดยใช้กบไสให้ได้รูปทรงที่
สวยงาม ขัดกระดาษทราย ขัดให้ผิวเรียบ
๒.๒.๖ เมื่อขัดเสร็จแล้ว เจาะตรงขอบเอวกลอง ให้มีความห่างประมาณ ๑ นิ้ว แต่ละ
ช่อง โดยใช้สิ่วเจาะให้ลึกพอประมาณ เพื่อสาหรับไว้ร้อยเชือก ขัดกระดาษทรายละเอียดทาแล็คเกอร์ ๑ ถึง ๒ ครั้ง ทาเฉพาะผิวไม้ด้านนอก แต่งขอบฐานกลองใช้อลูมิเนียมรัดเป็นวงกลมเพื่อไม่ให้ฐานกลองแตกร้าว
๒.๓. ขั้นตอนการใส่หน้ากลองยาว
๒.๓.๑ หนังวัวตากแดดให้แห้งสนิท นาหนังวัว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ นิ้ว ตัดเป็นวงกลม โดยให้เหลือขอบ
๒.๓.๒ เจาะรูหนังวัวตามขอบที่เส้นขีดไว้ โดยใช้เหล็กเจาะตอกด้วยค้อนตะปู เจาะให้
เป็นรูจนรอบวงกลม แต่ละรูห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว เจาะรู ๒ แถว
๒.๓.๓ เมื่อเจาะรูเสร็จแล้ว นาเชือกมาร้อย โดยใส่ลวดเส้นเล็ก ระหว่างรูที่เจาะไว้ห่าง
กันประมาณ ๑ นิ้ว ลวดใส่สาหรับยึดให้แข็งแรง
๒.๓.๔ เมื่อเจาะรูเสร็จแล้ว นาเชือกมาร้อย โดยใส่ลวดเส้นเล็ก ระหว่างรูที่เจาะไว้ห่าง
กันประมาณ ๑ นิ้ว ลวดใส่ระหว่างของรูที่ร้อยเชือกสาหรับยึดให้แข็งแรง
๒.๓.๕ นาลวดทาเป็นวงกลม ใส่รัดไว้ที่เอวกลอง จะมีบ่าไม้เพื่อไม้ให้ลวดเลื่อนหลุด
ใส่ลวดรอบเอวกลองเพื่อสาหรับร้อยเชือกดึงยึดหน้ากลองให้ตึง
๒.๓.๖ เมื่อใส่ลวดเอวกลองเสร็จแล้ว นาหน้ากลองที่สานเชือกขอบไว้เสร็จแล้ว วางไว้
บนปากหน้ากลอง เพื่อร้อยเชือกดึงยึดหน้ากลองให้ตึง
๒.๓.๗ เมื่อร้อยเชือกจนรอบกลองแล้ว นากระดาษทรายละเอียดขัดหน้ากลอง ให้เรียบ
และสะอาด

๒.๔. ขั้นตอนการทาให้กลองยาวมีเสียงดังที่ได้มาตรฐาน
เมื่อขัดหน้ากลองเสร็จแล้ว ผสมขนมโก๋กับน้านวดให้เหนียวนิ่ม (สมัยโบราณใช้ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า) เพื่อสาหรับแปะหน้ากลอง และทดลองตี ถ้าใส่มากเสียงใหญ่ ใช้ไม่ได้ ถ้าใส่น้อยเสียงแหลม ใช้ไม่ได้ ใส่พอประมาณ โดยทดลองตีและฟังเสียง (ถ้ากลองยาวไม่ได้นาไปใช้งาน ให้แกะขนมโก๋ที่แปะทิ้งทุกครั้ง เพื่อไม่ให้แมลงกัดแทะหน้ากลอง)
๒.๕. ขั้นตอนการแต่งตัวให้กลองยาว
การแต่งตัวให้กลองยาว เพื่อเพิ่มความสวยงาม โดยใส่เสื้อให้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลวดลายเดียวกันทั้ง ๗ ลูก และใส่สายสะพายตามที่ต้องการ เพื่อสาหรับไว้สะพายเวลาเดิน ตีกลองยาว
๓. ขั้นหลังการผลิต
๓.๑ ตรวจความละเอียดของชิ้นงานแต่ละชิ้นที่เสร็จสมบูรณ์
๓.๒ พร้อมนาไปใช้งาน

สรุปผลการวิเคราะห์

เครื่องดนตรีเป็นแหล่งกาเนิดเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ได้เสียงตามต้องการ มีความไพเราะเรียกว่าเสียงดนตรี จะเห็นได้ว่าทุกชาติทุกภาษาแม้จะอยู่คนละขั้วโลก แต่ก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือชอบเสียงดนตรี แต่การที่แต่ละชาติจะคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีออกมาได้อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นหลัก ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สภาพแวดล้อมเป็นภูเขา ป่าไม้ แม่น้า เครื่องดนตรีส่วนใหญ่จะผลิตจากไม้และสัตว์ ต่อมาเมื่อโลกพัฒนาขึ้นจึงมีเครื่องดนตรีที่เป็นโลหะ แต่ก็เป็นกรรมวิธีการทาแบบโบราณ
ภูมิปัญญาในการคิดประดิษฐ์กลอง
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุด้วยการนาหนังสัตว์มาขึงให้ตึงแล้วตี จะเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงขึ้น แต่ความดังก็ไม่มากนัก ต้องมีโพรงช่วยสะท้อนเสียง มนุษย์อาจคิดได้จากการที่อาศัยอยู่ในถ้า เวลาพูดหรือทาให้เกิดเสียงจะก้องกังวานดังไกล จึงเห็นได้ว่าเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิดจะต้องมีโพรง แต่โพรงที่ทาเครื่องดนตรีในยุคแรกก็ได้มาจากธรรมชาติ เช่น เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ กระบอกไม้ไผ่ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่กลองมีขนาดใหญ่กว่าก็ใช้โพรงจากต้นไม้ แต่ก่อนไม่มีเครื่องมือในการขุดก็จะใช้ต้นมะพร้าว ต้นตาล เมื่อแห้งแล้วไส้ในจะผุจึงใช้ไฟสุมเผาไส้ในให้เหลือแต่เปลือกเป็นโพรงลักษณะเดียวกับการขุดเรืออีโปงในสมัยก่อนนั่นเอง ต่อมาในยุคโลหะมนุษย์สามารถคิดเครื่องมือจากโลหะที่แข็งกว่าไม้ได้ จึงนามาเป็นเครื่องมือ เจาะ คว้าน สับ ถากไม้แก่นให้เป็นรูปทรงตามต้องการได้ เกิดเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆมากมาย รวมไปถึงเครื่องดนตรีต่างๆด้วย
ลักษณะของกลองยาว เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว ตัวกลองด้านบนที่ขึงหนังจะป่องเป็นโพรง ส่วนกลางเล็กเรียวเป็นท่อกลวง ส่วนปลายบานคล้ายดอกลาโพง ในแต่ละส่วนของกลองมีความสาคัญต่อการเกิดเสียงทั้งสิ้น

- ตัวกลองส่วนบนที่ขึงหนังป่องเป็นโพรงช่วยในการสะท้อนเสียง ทาให้เสียงก้องกังวานกระหึ่มมากขึ้น
- ตอนกลางเล็กเรียวเป็นท่อ ช่วยระบายลมและเสียงให้พุ่งไปไกล
- ตอนปลายบานออกคล้ายดอกลาโพง ช่วยกระจายเสียงให้กว้างขึ้น
จากภูมิปัญญาเหล่านี้ ยังสมารถนามาใช้ในการต่อตู้ลาโพงในปัจจุบันด้วย ก่อนจะตีกลอง
จะใช้ข้าวสุกหรือข้าวเหนียวบดผสมขี้เถ้า ปัจจุบันอาจใช้ขนมโก๋ ติดตรงกลางหน้ากลอง ข้าวสุกมีความเหนียวยึดติดหนังกลองได้ดี ส่วนขี้เถ้าผสมไม่ให้เละและติดมือ การติดข้าวสุกเพื่อปรับเสียงถ้าติดมากเสียงจะทุ้มเกินไปต้องเทียบเสียงให้เข้ากันในวง และยังช่วยให้หนังกลองกระพือนานขึ้นช่วยเพิ่มความกังวานอีกด้วย ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดที่ติดขี้ถ่วง เช่น ระนาด ฆ้อง เป็นต้น หลังจากเลิกใช้งานต้องแกะทิ้งทุกครั้งเพื่อมิให้เน่าบูด มดมากัดกิน นอกจากนี้ยังต้องมีการนุ่งผ้าให้กลองหรือเรียกว่าแต่งตัว โดยจะตัดผ้าลายดอกหุ้มตั้งแต่หน้ากลองถึงเอวกลอง เสริมจีบคล้ายกระโปรงโดยรอบสวยงามเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของกลองยาว และยังบ่งบอกถึงการได้รับอิทธิพลจากมอญหรือพม่า

ภูมิปัญญาในการเลือกวัสดุ

- ไม้ที่ใช้ทากลองยาวคือไม้ขนุน ไม้มะม่วง ที่นิยมคือไม้ขนุนอายุมากกว่า ๒๐ ปี เป็น
พันธุ์ไม้ผลพื้นบ้านที่หมดอายุให้ผลแล้ว ไม่ต้องตัดไม้ทาลายป่า แก่นไม้ที่มีอายุมากจะทนทานไม่แตกร้าว สีสวยงาม ลักษณะเฉพาะของไม้แก่นขนุนคือมีความเบากว่าไม้อื่น เนื้อไม้ขุดง่าย สะท้อนเสียงได้ดีกว่าไม้อื่นๆ

- หนังสัตว์ที่ใช้ทากลองยาว เป็นหนังวัวตัวเมียเนื่องจากหนังวัวบางกว่าหนังควาย เนื้อเนียนกว่าแต่แข็งแรงทนทานไม่ขาดง่ายทนต่อแรงดึงให้ตึงและการตี โดยเฉพาะหนังวัวตัวเมียจะบางกว่าวัวตัวผู้ บางแห่งใช้หนังลูกวัวแต่จะทนทานน้อยกว่า หนังที่บางจะกระพือได้ดีและเวลาตีจะไม่เจ็บมือ
ภูมิปัญญาในการประดิษฐ์เครื่องมือการขุดกลองยาว
- ขวานโยน เป็นขวานด้ามยาวหน้าขวานขวางกับตัวด้ามคล้ายจอบแต่มีหน้าแคบและน้าหนักมากกว่า สามารถใช้ยืนถากและช่วยผ่อนแรงได้ดี เหมาะกับการทางานหยาบๆคือการโกลนขึ้นรูป (โกลน คือการขึ้นรูปให้เป็นหุ่นกลองแบบหยาบๆ) หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเหลา
- สิ่วด้ามยาว ในการเจาะส่วนกลางที่มีลักษณะเป็นท่อให้ทะลุถึงกันกับส่วนปลาย
- เหล็กตะขอ ลักษณะเหมือนสิ่วแต่งอย้อนกลับทางใช้สาหรับลากขุดตกแต่งผิวด้านในโพรงให้เรียบก่อนขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้ง
กลองยาว นิยมนาไปใช้ในขบวนแห่ต่างๆเพราะตัวกลองไม่หนักมาก มีสายสะพายบ่า สามารถเดินบรรเลงไปกับขบวนได้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทุกภูมิภาค เพราะมีจังหวะการตีหลายแบบที่เร้าใจสนุกสนาน โดยมีกลองยาว ๕-๗ ใบ เครื่องกากับจังหวะประกอบคือ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ ฆ้อง เหม่ง (มักเรียกว่าโหม่ง) ผู้ร่วมขบวนจะเต้นราโห่ร้องอย่างสนุกสนานลืมความเหน็ดเหนื่อยในการเดิน ภายหลังมีการนาเครื่องดนตรีอื่นๆที่สามารถเดินบรรเลงได้มาเสริม รวมถึงคิดท่าเต้น ลีลาท่าตี การแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค เรียกว่า “กลองยาวประยุกต์”
นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการถ่ายทอดวิธีการขุดทากลองยาวจากบรรพบุรุษคือ นายบุญมี จุลภัณฑ์ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ถึงแม้ปัจจุบันจะมีวิธีการทาด้วยเครื่องจักร แต่นายทอง เภาเนือง ก็ยังเลือกใช้วิธีแบบดั้งเดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและยังชักชวนเพื่อนบ้านลูกหลานจัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตกลองยาวขึ้น และยังมีความสามารถในการตีกลองยาวออกแสดงรับงานต่างๆมีรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบันอาชีพนี้ลดน้อยลงทุกที ขบวนแห่ต่างๆก็มีเครื่องดนตรีอื่นเช่น แตรวง พิณแคนประยุกต์ มาเป็นทางเลือกอีกจึงทาให้รายได้ลดลงจนบสงแห่งต้องหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน อย่างไรก็ตาม นายทอง เภาเนือง ผู้ยึดมั่นที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแขนงนี้ไว้จัดตั้งกลุ่มผลิตกลองยาวขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับลูกหลานเพื่อสืบสานต่อไป ทาให้งานช่างการขุดทากลองยาวยังคงอยู่คู่จังหวัดปราจีนบุรีไปอีกนาน ถึงกระนั้นก็ยังควรเก็บข้อมูลนี้ไว้เพื่อง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าและยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญหายได้เช่นกัน



ภาพที่ ๑ ต้นขนุนแก่ๆ มีอายุประมาณ ๒๐ ปี
ภาพที่ ๒ หนังวัว ใช้หนังวัวเพศเมีย เพราะหนังบาง เสียงดี
ภาพที่ ๓ เชือก
ภาพที่ ๔ ขวานโยนสาหรับถากเปลือกด้านนอกออกทั้งหมด
ภาพที่ ๕ ตะขอเหล็กขูดในโพรงกลอง
ภาพที่ ๖ ค้อน สิ่ว กระดาษทราย

ภาพที่ ๑ ไม้ขนุนแก่ ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว
ภาพที่ ๒ ใช้ขวานโยนโกลนหรือเหลาขึ้นรูป
ภาพที่ ๓ ไม้ที่ขึ้นรูปแล้ว
ภาพที่ ๔ หาจุดศูนย์กลางทาวง
ภาพที่ ๕ ขุดเจาะทาโพรง
ภาพที่ ๖ ใช้ตะขอแต่งให้เรียบ
ภาพที่ ๗ ทาฐาน
ภาพที่ ๘ ร้อยเชือกที่ขอบหนังวัว
ภาพที่ ๙ การขึงหนังกลอง
ภาพที่ ๑๐ นุ่งผ้า

0 comments

Post a Comment