การทำกลองยาว
เครื่องดนตรี เป็นเสียงที่มนุษย์คิดขึ้นโดยการเลียนจากเสียงธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสียงที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถโน้มน้าวจิตใจและอารมณ์ของผู้ฟังให้คล้อยตามได้ ซึ่งจัดว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่งของมนุษย์ทุกชนชาติทุกภาษา
การที่จะสืบค้นว่าดนตรีเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นคงเป็นเรื่องยาก แต่สามารถพูดได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ก็เช่นเดียวกับศิลปะสาขาอื่นๆ ซึ่งในยุคแรกๆคงไม่ได้ร้องราทาเพลงเป็นเรื่องเป็นราว อาจใช้เสียงเป็นสัญญาณต่างๆ เช่น ปรบมือ เคาะหิน เป่าปาก เป่าใบไม้แทน เป็นต้น ต่อมาเริ่มมีการเปล่งเสียงร้องหรือแสดงท่าทางประกอบ แต่ในยุคนั้นคงทาเพื่อการอ้อนวอนพระเจ้าตามความเชื่อ แล้วพัฒนามาเป็นบทสวดต่างๆ จนกระทั้งยุคสมัยผ่านไปจึงวิวัฒนาการมาเป็นเสียงดนตรี
อย่างไรก็ตามเสียงดนตรีคงเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีเครื่องดนตรี มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนา
เครื่องดนตรีไปตามยุคสมัยและความเจริญ ความก้าวหน้าในด้านความคิด วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่
การขุดทากลองยาวของ นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่เป็นมารดกสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นงานช่างฝีมือพื้นบ้านที่บ่งถึงวิถีชีวิตแบบไทย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันทรงคุณค่าด้วยฝีมือคนไทยที่นับวันจะหาดูได้ยาก จึงควรเก็บข้อมูลนี้ไว้เพื่อเยาวชนได้ศึกษาค้นคว้าว่าการขุดทากลองยาวด้วยภูมิปัญญาไทยนั้นเขาทากันอย่างไร
ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ให้ความงามซึ่งสัมผัสด้วยการได้ยิน ดนตรีเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มมีความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม แต่มนุษย์ก็ให้ความสาคัญกับดนตรีจะเห็นว่ามนุษญ์ทุกชาติทุกภาษาใช้ดนตรีในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ละชาติจึงคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่แตกต่างกันออกไป
กลองยาว มีการตั้งชื่อตามลักษณะของกลอง คือเป็นกลองหน้าเดียว ที่มีรูปร่างกลมยาว ตัวกลองตอนหน้าใหญ่ใช้ขึงหนัง ตอนกลางเล็กเรียว และตอนปลายหรือฐานกลองบานคล้ายดอกลาโพง มีสายสะพายสาหรับสะพายบ่า กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นได้ในยุคต้นๆ และพัฒนารูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากมาย
เชื่อกันว่า กลองยาว ได้แบบอย่างมาจากพม่าในสมัยกรุงธนบุรีช่วงที่ไทยทาสงครามกับพม่า เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นกลองยาวกันสนุกสนาน คนไทยจึงได้นาแบบอย่างมาเล่นบ้าง จนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปตามหมู่บ้าน และมีการประยุกต์ใช้ลีลา ท่าตี ท่ารา เพื่อเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้น
นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นทายาทผู้ได้รับการถ่ายทอดงานช่างฝีมือการขุดทากลองยาวแบแบภูมิปัญญาไทยทาด้วยมือทุกขั้นตอน
เริ่มตั้งแต่การเลื่อยไม้แก่นขนุนต้นแก่ที่มีอายุครบ ๒๐ ปี หรือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ นิ้ว ให้เป็นท่อนๆละ ๙๐ เซนติเมตร ถากเปลือกออกด้วยขวานโยน และขึ้นรูปกลองแบบหยาบๆ จากนั้นหาจุดศูนย์กลางหน้ากลองทาวงกลมตามขนาดของกลอง และวงในตามหน้ากลอง แล้วจึงทาการขุดโพรงกลองด้วยสิ่วให้ทะลุถึงชานกลอง แต่งและขัดกระดาษทรายให้เรียบ เสร็จแล้วจึงนาหนังวัวที่ตากแห้งไว้มาขึงดึงให้ตึงด้วยเชือกหรือเอ็นเป็นอันเสร็จได้ตัวกลองยาว เวลาจะนาไปใช้ต้องตกแต่งด้วยผ้าหุ้มเฉพาะตัวกลองทาเป็นจีบระบายโดยรอบอย่างสวยงาม
นายทอง เภาเนือง ได้รวบรวมเพื่อบ้าน ญาติพี่น้องจัดตั้งกลุ่มผลิตกลองยาว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่ออนุรักษ์การขุดกลองยาวแบบภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหายและยังมีรายได้เสริมอีกทาง อย่างไรก็ตามงานช่างชนิดนี้นับวันจะมีน้อยลงทุกที บางแห่งก็ทาด้วยเครื่องจักร จึงควรเก็บข้อมูลการขุดทากลองยาวนี้ไว้เพื่อศึกษาค้นคว้าอีกทางหนึ่ง
ดนตรี เป็นสื่อกลางแห่งความเข้าใจของคนทุกชาติที่ได้สัมผัส เสียงดนตรีทาให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม เป็นสิ่งที่ทาให้จิตใจเบิกบานร่าเริง มนุษย์เรามีสมองที่ฉลาดล้าลึกสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่ทาให้เกิดเสียงต่างๆได้ แต่แหล่งกาเนิดเสียงที่นามาเป็นเสียงดนตรีเราเรียกว่า เครื่องดนตรี เสียงดนตรีได้แก่เสียง สูงๆ ต่าๆ สั้นๆ ยาวๆ แล้วนามาเรียบเรียงจนเกิดความไพเราะ มีอิทธิพลต่ออารมณ์ของมนุษย์อย่างมาก จะเห็นได้ว่าทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ มีดนตรีด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันไปก็คือเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีเป็นแหล่งกาเนิดเสียงดนตรีที่มนุษย์คิดค้นขึ้นนั้น ในแต่ละชนชาติจึงมีความแตกต่างกันไปตามความคิด สภาพแวดล้อมและวัสดุที่มีอยู่ในชาตินั้นๆ เครื่องดนตรีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าเสียงดนตรีเพราะเครื่องดนตรีมีบทบาทในชีวิตมาก่อน ในลักษณะสื่อสาร สัญญาณต่างๆ เช่น ปรบมือ ตีเกราะ เคาะไม้ เป่าปาก เป็นต้น
ดนตรี นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินทางอารมณ์แล้วยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมประจาชาติ ดังนั้นเครื่องดนตรีไม่ใช่จะเป็นแหล่งกาเนิดเสียงที่มีความไพเราะอย่างเดียวยังเป็นศิลปะของแต่ละชาตีที่มีรูปร่าง สีสัน ลวดลายการผลิต ตลอดจนการบรรเลง จังหวะ ลีลาและท่วงทานองที่บ่งบอกถึงเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้นๆด้วย
กลองยาว เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว ตัวกลองด้านบนที่ขึงหนังจะป่องออก ส่วนกลางเล็กเรียวเป็นท่อกลวง ตรงปลายหรือฐานกลองบานออกเป็นรูปดอกลาโพง ซึ่งเชื่อกันว่ากลองยาว ในเมืองไทยได้แบบอย่างมาจากพม่า ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าครั้งใด แต่สันนิษฐานกันว่าสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งพม่ามาตั้งค่ายทาสงครามกับไทย ในขณะพักรบพม่าได้นากลองยาวมาตีเล่นกันอย่างสนุกสนาน ไทยจึงได้นาแบบอย่างมาจากครั้งนั้นและมีการเล่นกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากกลองยาวมีสายสะพายบ่าสามารถเดินตีได้สะดวก จึงนิยมนิยมนาไปใช้ในขบวนแห่ต่างๆ เช่น แห่นาค ทอดกฐิน ผ้าป่า แห่ขันหมาก เป็นต้น กลองยาว มีลีลาจังหวะที่สนุกสนานเร้าใจ ทาให้ขบวนแห่รื่นเริง มีผู้ร่วมขบวนออกมาเต้นราโห่ร้องกันอย่างสนุกสนาน
นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการถ่ายทอดงานช่างฝีมือการขุดทากลองยาวมากว่า ๓๕ ปี และสามารถจัดตั้งเป็นวงกลองยาวรับแสดงในงานพิธีต่างๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ให้สูญหายแล้วยังเพิ่มรายได้อีกด้วย
การขุดทากลองยาว
การขุดทากลองยาว เป็นความรู้ ความคิดจากชาวบ้าน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การขุดทากลองยาวจึงนับได้ว่า เป็นการอนุรักษ์รักษางานช่างฝีมือพื้นบ้าน ที่บ่งบอกถึงความประณีต สวยงาม อันทรงคุณค่าด้วยฝีมือคนไทยในท้องถิ่น การขุดทากลองยาว ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นงานช่างฝีมือ ใช้วัตถุดิบ คือ ต้นขนุน ซึ่งไม่ใช่ไม้ป่า หรือไม้หวงห้าม การขุดทากลองยาว งานช่างฝีมือกลุ่มนี้ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ คือ นายบุญมี จุลภัณฑ์ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ถ่ายทอดการขุดทากลองยาว และการตี เพื่อให้เป็นจังหวะ กลุ่มงานช่างฝีมือส่วนใหญ่ คือ สมาชิกคนในชุมชนท้องถิ่น ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อปลูกฝังให้ชุมชนมีความสามัคคี และสืบทอดอนุรักษ์รักษาการขุดทากลองยาวต่อไป
ผู้รับการถ่ายทอด คือ นายทอง เภาเนือง ได้รับการถ่ายทอดประมาณ ๓๔ ปี และได้จัดตั้งกลุ่มผลิตกลองยาว พ.ศ. ๒๕๑๕ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่ออนุรักษ์รักษาการขุดทากลองยาวไม่ให้สูญหาย และเพื่อให้กลุ่มชุมชนในท้องถิ่นมีความรู้ในการขุดทากลองยาว รวมถึงให้มีรายได้จากผลงานชิ้นนี้
ข้อมูลช่าง / เจ้าของผลงาน
ชื่อช่าง นายทอง เภาเนือง
เกิดวันที่ ๑๓ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๗๗ หมู่ที่ ๘ ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
โทรศัพท์ ๐-๗๗๕๘-๔๑๐๖
กลุ่มช่าง
๑.นายจันทร์ดา จุลภัณฑ์
๒.นายประสิทธิ์ ดวงดี
๓.นายฉลอง เภาเนือง
๔.นายสุวรรณชัย เภาเนือง
๕.นายวิชัย ดวงดี
๖.นายสมจิตร ดวงดี
๗.นายแหยม สิงห์ทอง
๘.นายอุดม รวมทรัพย์
๙.นายฉลาด นาแล
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
- - ๒๕๐๓
๑๔ มี.ค. ๒๕๑๑
- - ๒๕๐๒
๘ ก.พ. ๒๕๑๔
๑๐ ก.ค. ๒๕๑๔
- - ๒๔๘๘
- - ๒๔๗๖
๓๑ ก.ค. ๒๔๙๙
๕ ม.ค. ๒๕๑๓
๑๐.นายวิศิษฐ์ เอื้อเฟื้อ
๑๑.นายบุญนาค เภาเนือง
๑๒.นายปราณี เภาเนือง
๑๓.นายจารัส สิงห์ทอง
๑๔.นายประสิทธิ์ สิงห์ทอง
๑๕.นายผัน เภาเนือง
๑๖.นายณัษฐพล จุลภัณฑ์
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
วัน/เดือน/ปี เกิด
๑๓ พ.ค. ๒๕๐๐
๑๑ ก.พ. ๒๕๒๒
- - ๒๔๙๔
๑๔ พ.ค. ๒๕๑๔
๑ ก.พ. ๒๕๐๓
- - ๒๔๗๘
๒๗ พ.ค. ๒๕๐๖
วัสดุที่ใช้ในการผลิต
๑. ต้นขนุนแก่ๆ มีอายุประมาณ ๒๐ ปี
๒. หนังวัว ใช้หนังวัวเพศเมีย เพราะหนังบาง เสียงดี
๓. เชือก สาหรับนามาร้อยหนังวัวหน้ากลองให้ตึงและแน่น
แหล่งที่มาของวัสดุ ในท้องถิ่น คือ ตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑. ขวานโยน หรือขวานถาก
๒. เลื่อย
๓. ตะขอ สาหรับขูดเนื้อไม้ในโพรงกลอง
๔. ค้อน สิ่ว ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ กระดาษทราย
๕. ขนมโก๋ แล็คเกอร์
ขั้นตอนกระบวนการผลิตและวิธีทำ
๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ ตัดต้นขนุนที่ต้นแก่ ๆ อายุประมาณ ๒๐ ปี กาลังดี
๑.๒ ตัดต้นขนุนเป็นท่อน ๆ ท่อนละ ๙๐ เซนติเมตร
๑.๓ เลื่อยเปลือก หรือถากเปลือกออกให้รอบทุกท่อน
๒. ขั้นตอนการผลิต มี ๕ ขั้นตอน คือ
๒.๑. ขั้นตอนการทาเอวกลองและฐานกลองด้านล่าง
๒.๑.๑ นาท่อนขนุนที่ถากเปลือกนอกออกแล้ว วัดตั้งแต่ขอบหน้ากลองลงไปประมาณ ๑ ฟุต ใช้ดินสอขีดเส้นรอบไว้ ตั้งแต่ส่วนนี้เรียกว่า เอวกลอง
๒.๑.๒ เริ่มถากตั้งแต่เอวงลงไปถึงปลายฐานด้านล่าง โดยใช้ขวานโยนถาก ช่วงปลาย
ฐานด้านล่างถากบานออกเพื่อสาหรับกลองวางได้ ความกว้างของหน้ากลองกับฐานกลองเท่ากัน
๒.๒. ขั้นตอนการขุดโพรงกลองยาว
๒.๒.๑ เมื่อถากได้เอวกลองและฐานกลองเสร็จ แล้ว วางไม้กลองตั้งขึ้น เพื่อวัดจุดศูนย์กลางของหน้ากลอง และวัดขอบกลอง โดยใช้ไม้แบน วางบนหน้ากลองตอกตะปู ๑ ตัว ตรงกลาง และขอบริมหน้ากลอง ๒ ตัว ตะปู ๒ ตัว ที่ขอบห่างกันประมาณ ๒ นิ้ว (ตอกตะปู ให้ปลายตะปูโผล่ติดไม้หน้ากลอง)
๒.๒.๒ หมุนไม้วัดให้รอบหน้ากลอง ปลายตะปูจะขีดหน้ากลองเป็นรอยเส้น ลึก
พอประมาณ รอยเส้นจะมีที่ขอบ ๒ เส้น และจุดกลาง ๑ จุด
๒.๒.๓ นาสิ่ว และค้อน ขุดเนื้อตรงกลางหน้ากลองออก ขุดไปเรื่อยๆ จนถึงเส้นขอบ ที่
วัดไว้ และขุดให้ลึก จนกระทั่งทะลุ สิ่วใช้ตัวเล็ก ไล่ไปตัวกลาง และตัวใหญ่สุด เพราะต้องขุดให้เป็นรูทะลุลงไปถึงฐานล่าง
๒.๒.๔ เมื่อขุดทะลุแล้ว ส่วนนี้เรียกว่า โพรงกลองยาว ภายในต้องใช้เหล็กตะขอคม
ขูดให้เรียบ และสม่าเสมอทุกส่วนจากด้านบน และจากด้านล่าง
๒.๒.๕ เมื่อขูดในโพรงกลองเสร็จแล้ว ตกแต่งภายนอกโดยใช้กบไสให้ได้รูปทรงที่
สวยงาม ขัดกระดาษทราย ขัดให้ผิวเรียบ
๒.๒.๖ เมื่อขัดเสร็จแล้ว เจาะตรงขอบเอวกลอง ให้มีความห่างประมาณ ๑ นิ้ว แต่ละ
ช่อง โดยใช้สิ่วเจาะให้ลึกพอประมาณ เพื่อสาหรับไว้ร้อยเชือก ขัดกระดาษทรายละเอียดทาแล็คเกอร์ ๑ ถึง ๒ ครั้ง ทาเฉพาะผิวไม้ด้านนอก แต่งขอบฐานกลองใช้อลูมิเนียมรัดเป็นวงกลมเพื่อไม่ให้ฐานกลองแตกร้าว
๒.๓. ขั้นตอนการใส่หน้ากลองยาว
๒.๓.๑ หนังวัวตากแดดให้แห้งสนิท นาหนังวัว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ นิ้ว ตัดเป็นวงกลม โดยให้เหลือขอบ
๒.๓.๒ เจาะรูหนังวัวตามขอบที่เส้นขีดไว้ โดยใช้เหล็กเจาะตอกด้วยค้อนตะปู เจาะให้
เป็นรูจนรอบวงกลม แต่ละรูห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว เจาะรู ๒ แถว
๒.๓.๓ เมื่อเจาะรูเสร็จแล้ว นาเชือกมาร้อย โดยใส่ลวดเส้นเล็ก ระหว่างรูที่เจาะไว้ห่าง
กันประมาณ ๑ นิ้ว ลวดใส่สาหรับยึดให้แข็งแรง
๒.๓.๔ เมื่อเจาะรูเสร็จแล้ว นาเชือกมาร้อย โดยใส่ลวดเส้นเล็ก ระหว่างรูที่เจาะไว้ห่าง
กันประมาณ ๑ นิ้ว ลวดใส่ระหว่างของรูที่ร้อยเชือกสาหรับยึดให้แข็งแรง
๒.๓.๕ นาลวดทาเป็นวงกลม ใส่รัดไว้ที่เอวกลอง จะมีบ่าไม้เพื่อไม้ให้ลวดเลื่อนหลุด
ใส่ลวดรอบเอวกลองเพื่อสาหรับร้อยเชือกดึงยึดหน้ากลองให้ตึง
๒.๓.๖ เมื่อใส่ลวดเอวกลองเสร็จแล้ว นาหน้ากลองที่สานเชือกขอบไว้เสร็จแล้ว วางไว้
บนปากหน้ากลอง เพื่อร้อยเชือกดึงยึดหน้ากลองให้ตึง
๒.๓.๗ เมื่อร้อยเชือกจนรอบกลองแล้ว นากระดาษทรายละเอียดขัดหน้ากลอง ให้เรียบ
และสะอาด
๒.๔. ขั้นตอนการทาให้กลองยาวมีเสียงดังที่ได้มาตรฐาน
เมื่อขัดหน้ากลองเสร็จแล้ว ผสมขนมโก๋กับน้านวดให้เหนียวนิ่ม (สมัยโบราณใช้ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า) เพื่อสาหรับแปะหน้ากลอง และทดลองตี ถ้าใส่มากเสียงใหญ่ ใช้ไม่ได้ ถ้าใส่น้อยเสียงแหลม ใช้ไม่ได้ ใส่พอประมาณ โดยทดลองตีและฟังเสียง (ถ้ากลองยาวไม่ได้นาไปใช้งาน ให้แกะขนมโก๋ที่แปะทิ้งทุกครั้ง เพื่อไม่ให้แมลงกัดแทะหน้ากลอง)
๒.๕. ขั้นตอนการแต่งตัวให้กลองยาว
การแต่งตัวให้กลองยาว เพื่อเพิ่มความสวยงาม โดยใส่เสื้อให้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลวดลายเดียวกันทั้ง ๗ ลูก และใส่สายสะพายตามที่ต้องการ เพื่อสาหรับไว้สะพายเวลาเดิน ตีกลองยาว
๓. ขั้นหลังการผลิต
๓.๑ ตรวจความละเอียดของชิ้นงานแต่ละชิ้นที่เสร็จสมบูรณ์
๓.๒ พร้อมนาไปใช้งาน
สรุปผลการวิเคราะห์
เครื่องดนตรีเป็นแหล่งกาเนิดเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ได้เสียงตามต้องการ มีความไพเราะเรียกว่าเสียงดนตรี จะเห็นได้ว่าทุกชาติทุกภาษาแม้จะอยู่คนละขั้วโลก แต่ก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือชอบเสียงดนตรี แต่การที่แต่ละชาติจะคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีออกมาได้อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นหลัก ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สภาพแวดล้อมเป็นภูเขา ป่าไม้ แม่น้า เครื่องดนตรีส่วนใหญ่จะผลิตจากไม้และสัตว์ ต่อมาเมื่อโลกพัฒนาขึ้นจึงมีเครื่องดนตรีที่เป็นโลหะ แต่ก็เป็นกรรมวิธีการทาแบบโบราณ
ภูมิปัญญาในการคิดประดิษฐ์กลอง
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุด้วยการนาหนังสัตว์มาขึงให้ตึงแล้วตี จะเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงขึ้น แต่ความดังก็ไม่มากนัก ต้องมีโพรงช่วยสะท้อนเสียง มนุษย์อาจคิดได้จากการที่อาศัยอยู่ในถ้า เวลาพูดหรือทาให้เกิดเสียงจะก้องกังวานดังไกล จึงเห็นได้ว่าเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิดจะต้องมีโพรง แต่โพรงที่ทาเครื่องดนตรีในยุคแรกก็ได้มาจากธรรมชาติ เช่น เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ กระบอกไม้ไผ่ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่กลองมีขนาดใหญ่กว่าก็ใช้โพรงจากต้นไม้ แต่ก่อนไม่มีเครื่องมือในการขุดก็จะใช้ต้นมะพร้าว ต้นตาล เมื่อแห้งแล้วไส้ในจะผุจึงใช้ไฟสุมเผาไส้ในให้เหลือแต่เปลือกเป็นโพรงลักษณะเดียวกับการขุดเรืออีโปงในสมัยก่อนนั่นเอง ต่อมาในยุคโลหะมนุษย์สามารถคิดเครื่องมือจากโลหะที่แข็งกว่าไม้ได้ จึงนามาเป็นเครื่องมือ เจาะ คว้าน สับ ถากไม้แก่นให้เป็นรูปทรงตามต้องการได้ เกิดเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆมากมาย รวมไปถึงเครื่องดนตรีต่างๆด้วย
ลักษณะของกลองยาว เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว ตัวกลองด้านบนที่ขึงหนังจะป่องเป็นโพรง ส่วนกลางเล็กเรียวเป็นท่อกลวง ส่วนปลายบานคล้ายดอกลาโพง ในแต่ละส่วนของกลองมีความสาคัญต่อการเกิดเสียงทั้งสิ้น
- ตัวกลองส่วนบนที่ขึงหนังป่องเป็นโพรงช่วยในการสะท้อนเสียง ทาให้เสียงก้องกังวานกระหึ่มมากขึ้น
- ตอนกลางเล็กเรียวเป็นท่อ ช่วยระบายลมและเสียงให้พุ่งไปไกล
- ตอนปลายบานออกคล้ายดอกลาโพง ช่วยกระจายเสียงให้กว้างขึ้น
จากภูมิปัญญาเหล่านี้ ยังสมารถนามาใช้ในการต่อตู้ลาโพงในปัจจุบันด้วย ก่อนจะตีกลอง
จะใช้ข้าวสุกหรือข้าวเหนียวบดผสมขี้เถ้า ปัจจุบันอาจใช้ขนมโก๋ ติดตรงกลางหน้ากลอง ข้าวสุกมีความเหนียวยึดติดหนังกลองได้ดี ส่วนขี้เถ้าผสมไม่ให้เละและติดมือ การติดข้าวสุกเพื่อปรับเสียงถ้าติดมากเสียงจะทุ้มเกินไปต้องเทียบเสียงให้เข้ากันในวง และยังช่วยให้หนังกลองกระพือนานขึ้นช่วยเพิ่มความกังวานอีกด้วย ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดที่ติดขี้ถ่วง เช่น ระนาด ฆ้อง เป็นต้น หลังจากเลิกใช้งานต้องแกะทิ้งทุกครั้งเพื่อมิให้เน่าบูด มดมากัดกิน นอกจากนี้ยังต้องมีการนุ่งผ้าให้กลองหรือเรียกว่าแต่งตัว โดยจะตัดผ้าลายดอกหุ้มตั้งแต่หน้ากลองถึงเอวกลอง เสริมจีบคล้ายกระโปรงโดยรอบสวยงามเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของกลองยาว และยังบ่งบอกถึงการได้รับอิทธิพลจากมอญหรือพม่า
ภูมิปัญญาในการเลือกวัสดุ
- ไม้ที่ใช้ทากลองยาวคือไม้ขนุน ไม้มะม่วง ที่นิยมคือไม้ขนุนอายุมากกว่า ๒๐ ปี เป็น
พันธุ์ไม้ผลพื้นบ้านที่หมดอายุให้ผลแล้ว ไม่ต้องตัดไม้ทาลายป่า แก่นไม้ที่มีอายุมากจะทนทานไม่แตกร้าว สีสวยงาม ลักษณะเฉพาะของไม้แก่นขนุนคือมีความเบากว่าไม้อื่น เนื้อไม้ขุดง่าย สะท้อนเสียงได้ดีกว่าไม้อื่นๆ
- หนังสัตว์ที่ใช้ทากลองยาว เป็นหนังวัวตัวเมียเนื่องจากหนังวัวบางกว่าหนังควาย เนื้อเนียนกว่าแต่แข็งแรงทนทานไม่ขาดง่ายทนต่อแรงดึงให้ตึงและการตี โดยเฉพาะหนังวัวตัวเมียจะบางกว่าวัวตัวผู้ บางแห่งใช้หนังลูกวัวแต่จะทนทานน้อยกว่า หนังที่บางจะกระพือได้ดีและเวลาตีจะไม่เจ็บมือ
ภูมิปัญญาในการประดิษฐ์เครื่องมือการขุดกลองยาว
- ขวานโยน เป็นขวานด้ามยาวหน้าขวานขวางกับตัวด้ามคล้ายจอบแต่มีหน้าแคบและน้าหนักมากกว่า สามารถใช้ยืนถากและช่วยผ่อนแรงได้ดี เหมาะกับการทางานหยาบๆคือการโกลนขึ้นรูป (โกลน คือการขึ้นรูปให้เป็นหุ่นกลองแบบหยาบๆ) หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเหลา
- สิ่วด้ามยาว ในการเจาะส่วนกลางที่มีลักษณะเป็นท่อให้ทะลุถึงกันกับส่วนปลาย
- เหล็กตะขอ ลักษณะเหมือนสิ่วแต่งอย้อนกลับทางใช้สาหรับลากขุดตกแต่งผิวด้านในโพรงให้เรียบก่อนขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้ง
กลองยาว นิยมนาไปใช้ในขบวนแห่ต่างๆเพราะตัวกลองไม่หนักมาก มีสายสะพายบ่า สามารถเดินบรรเลงไปกับขบวนได้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทุกภูมิภาค เพราะมีจังหวะการตีหลายแบบที่เร้าใจสนุกสนาน โดยมีกลองยาว ๕-๗ ใบ เครื่องกากับจังหวะประกอบคือ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ ฆ้อง เหม่ง (มักเรียกว่าโหม่ง) ผู้ร่วมขบวนจะเต้นราโห่ร้องอย่างสนุกสนานลืมความเหน็ดเหนื่อยในการเดิน ภายหลังมีการนาเครื่องดนตรีอื่นๆที่สามารถเดินบรรเลงได้มาเสริม รวมถึงคิดท่าเต้น ลีลาท่าตี การแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค เรียกว่า “กลองยาวประยุกต์”
นายทอง เภาเนือง ชาวตาบลหนองโพรง อาเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการถ่ายทอดวิธีการขุดทากลองยาวจากบรรพบุรุษคือ นายบุญมี จุลภัณฑ์ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ถึงแม้ปัจจุบันจะมีวิธีการทาด้วยเครื่องจักร แต่นายทอง เภาเนือง ก็ยังเลือกใช้วิธีแบบดั้งเดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและยังชักชวนเพื่อนบ้านลูกหลานจัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตกลองยาวขึ้น และยังมีความสามารถในการตีกลองยาวออกแสดงรับงานต่างๆมีรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบันอาชีพนี้ลดน้อยลงทุกที ขบวนแห่ต่างๆก็มีเครื่องดนตรีอื่นเช่น แตรวง พิณแคนประยุกต์ มาเป็นทางเลือกอีกจึงทาให้รายได้ลดลงจนบสงแห่งต้องหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน อย่างไรก็ตาม นายทอง เภาเนือง ผู้ยึดมั่นที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแขนงนี้ไว้จัดตั้งกลุ่มผลิตกลองยาวขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับลูกหลานเพื่อสืบสานต่อไป ทาให้งานช่างการขุดทากลองยาวยังคงอยู่คู่จังหวัดปราจีนบุรีไปอีกนาน ถึงกระนั้นก็ยังควรเก็บข้อมูลนี้ไว้เพื่อง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าและยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญหายได้เช่นกัน
ภาพที่ ๑ ต้นขนุนแก่ๆ มีอายุประมาณ ๒๐ ปี
ภาพที่ ๒ หนังวัว ใช้หนังวัวเพศเมีย เพราะหนังบาง เสียงดี
ภาพที่ ๓ เชือก
ภาพที่ ๔ ขวานโยนสาหรับถากเปลือกด้านนอกออกทั้งหมด
ภาพที่ ๕ ตะขอเหล็กขูดในโพรงกลอง
ภาพที่ ๖ ค้อน สิ่ว กระดาษทราย
ภาพที่ ๑ ไม้ขนุนแก่ ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว
ภาพที่ ๒ ใช้ขวานโยนโกลนหรือเหลาขึ้นรูป
ภาพที่ ๓ ไม้ที่ขึ้นรูปแล้ว
ภาพที่ ๔ หาจุดศูนย์กลางทาวง
ภาพที่ ๕ ขุดเจาะทาโพรง
ภาพที่ ๖ ใช้ตะขอแต่งให้เรียบ
ภาพที่ ๗ ทาฐาน
ภาพที่ ๘ ร้อยเชือกที่ขอบหนังวัว
ภาพที่ ๙ การขึงหนังกลอง
ภาพที่ ๑๐ นุ่งผ้า
การทำทอง
“ช่างทำทอง” ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ด าเนินกิจการโดยนายทำนอง รุ่งสีทอง เปิดร้านขายและรับสั่งทำทองรูปพรรณรูปแบบต่าง ๆ และมีลูกมือช่างอีก ๓–๔ คนเป็นผู้ช่วยทำ ความสำคัญของงานช่างทำทองจัดอยู่ในประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ (การทำตัวเรือน เครื่องประดับ) ต้องใช้ฝีมือในการออกแบบการตกแต่งอย่างมาก ส่วนว่าจะมีความเป็นศิลปะหรืองานช่างอย่างใดอย่างหนึ่งมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาความตั้งใจของผู้ประดิษฐ์สร้างสรรค์เครื่องประดับชิ้นนั้นออกมา ถ้าผู้สร้างหวังผลทางเศรษฐกิจก็มีความจ าเป็นต้องศึกษาความต้องการของตลาดและสร้างงานให้สอดคล้องกันไป ยึดหลักความชอบและไม่ชอบของกลุ่มคนลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญ อีกทั้งการผลิตชิ้นงานก็จะทำให้มีจ านวนปริมาณมาก ๆ ให้พอเพียงกับความต้องการของตลาดและลูกค้าอีกด้วย
กรณีช่างทำทองที่อำเภอพานทอง ลักษณะเครื่องประดับมีรูปแบบที่เป็นศิลปะค่อนข้างมาก มีการเน้นรูปทรงแปลกใหม่และความงามตามความคิดของช่าง จึงมีผลให้ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมามีศิลปลักษณะที่แปลกใหม่ไม่ซ้ ากับผลงานของผู้อื่น (มีความเป็นต้นแบบอยู่มาก) เช่นเดียวกับผลงานศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ได้สะท้อนถึงแนวความคิด อุดมคติและความงามของแบบเป็นหลัก ซึ่งหลักคิดดังกล่าวช่างทำทองที่พานทองได้ยึดถือและสืบทอดกันมานานกว่า ๕๐ ปี ตั้งแต่รุ่นบิดา-มารดาจนถึงรุ่นปัจจุบัน (นายทำนอง รุ่งสีทอง) ทำให้การทำทองของทางร้าน “ร้านรุ่งสีทอง” ได้รับความนิยมของลูกค้าทั้งในและนอกจังหวัด อีกทั้งยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายจากหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่เห็นคุณค่าของงานช่างประเภทนี้
การจัดเก็บข้อมูลของงานช่างทำทองในครั้งนี้ช่วยให้ฐานข้อมูลและองค์ความรู้บางส่วนได้มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบไม่ให้เกิดการสูญหาย และจะเอื้ออำนวยต่อผู้สนใจสามารถมาศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดฝึกอบรมให้กับผู้สนใจเพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการ เคล็ดลับการทำทองรูปพรรณที่เป็นกลวิธีเด่น ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการ พร้อม ๆ ไปกับมีฐานความรู้และคู่มือประกอบอย่างชัดเจนก็จะช่วยให้ประโยชน์บังเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
ทองคำ (Gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม ๗๙ และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานชิชั่นสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่และใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ กับทั้งใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับงานทันตกรรมและอุปกรณ์อีเล็กทอรนิกส์ คุณสมบัติของทองคำมีความแวววาวอยู่เสมอเมื่อสัมผัสถูกอากาศสีทองจะไม่หมองและไม่เป็นสนิม นอกจากนั้นทองคำยังมีความอ่อนตัวเป็นพิเศษด้วยทองคำเพียง ๒ บาท จะสามารถนำมายืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง ๘ กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง ๑๐๐ ตารางฟุต
มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ ๕,๐๐๐ ปี เป็นโลหะที่มีค่าความเหนียว (ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือยืดขยาย (extend) เพื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทางไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด โดยเฉพาะทองคำบริสุทธิ์จะไม่ทำปฎิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีนและน้ำประสานทอง ดังนั้นด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ข้างต้น จึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานาน ด้วยการนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ และทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับ อีกทั้งทองคำเป็นโลหะชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่ ความงดงามมันวาว (lustre) ความคงทน (durable) ความหายาก (rarity) และการนำกลับไปใช้ประโยชน์ (reuseable) จึงทำให้ทองคำโดดเด่นและเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะที่มีค่าทุกชนิดในโลก
“ช่างทำทอง” ร้านรุ่งสีทอง ที่ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ได้ทำกิจการนี้มาแต่ครั้งบิดา-มารดา เป็นรุ่นแรก ต่อมานายทำนอง รุ่งสีทอง ได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้มาอีกรุ่นหนึ่งตั้งแต่เมื่อเขาเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ (ตอนนั้นอายุได้ ๑๓ ปี) ด้วยการฝึกหัดการทำทองรูปพรรณ ซึ่งในระยะแรกจะทำกันเฉพาะคนในครอบครัว ต่อมาด้วยฝีมืออันประณีตงดงามบวกกับการทำทองมานานกว่า ๕๐ ปี ได้มีผลให้การทำทองของร้านรุ่งสีทองได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างต่อเนื่องไม่เพียงภายในจังหวัดชลบุรีเท่านั้น จังหวัดอื่น ๆ ก็ให้ความสนใจแวะเวียนเข้ามาสั่งทำและซื้อหาชิ้นงานจากทางร้านอยู่มิได้ขาด ซึ่งจากฝีมือและความสามารถในการทำทองจึงมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้มอบรางวัลต่าง ๆ ให้ทางร้านมากมาย
ในส่วนขั้นตอนและกระบวนการผลิตนั้น มี ๑. เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตทองรูปพรรณ ได้แก่ เบ้าหลอมทอง รางเททอง ปากคีบ แป้นดึงลวด คีบดึงลวด หีบลม ขวดน้ำมัน กล้องเป่าไฟ เครื่องรีด กระดานทนไฟ แกบทองเหลือง เครื่องตีเงา เป็นต้น ๒. ขั้นเตรียมการ ๓.
ขั้นการผลิต และ ๔. ขั้นหลังการผลิต โดยในแต่ละขั้นตอนทางร้านจะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับลูกมือช่างไว้อย่างชัดเจน
ข้อมูลช่างทำทองที่พานทองนี้เป็นกรรมวิธีการทำทองแบบโบราณและที่ร้านทองที่ยังคงอนุรักษ์สืบสานวิธีการรูปแบบเช่นนี้มีอยู่ไม่มากเช่นที่จังหวัดเพชรบุรีประการสำคัญการทำทองที่พานทองจะเน้นงานออกแบบเครื่องประดับและให้ความสำคัญกับต้นแบบความเป็นผลงานที่มีความงามเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้จะไม่ค่อยปรากฎกับร้านทำทองทั่ว ๆ ไป ประกอบกับช่างทำทองที่มีความรู้แบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำเช่นที่ร้านรุ่งสีทอง (นายทำนอง รุ่งสีทอง) ก็มีไม่มากนัก หากไม่มีการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ (ขั้นตอน กรรมวิธี กลวิธี) อย่างเป็นระบบพร้อมไปกับถอดรหัสองค์ความรู้และขั้นตอนการทำอย่างชัดแจ้งไว้ ต่อไปคงจะขาดผู้สืบทอดอย่างแน่นอน ในการนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติน่าที่จะให้ทุนการศึกษาวิจัยในเชิงลึกสำหรับช่างทำทองที่พานทองนี้เป็นการเฉพาะ
“ช่างทำทอง” เป็นการประดิษฐ์เครื่องประดับของตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี มีนายทำนอง รุ่งสีทอง เป็นผู้รับด าเนินกิจการมาจากบรรพบุรุษอีกทอดหนึ่ง งานเครื่องประดับของที่นี่ มีลักษณะพิเศษตรงที่การออกแบบให้มีรูปทรงแปลกใหม่ เน้นความเป็นต้นแบบผลงานไม่ซ้ าแบบใคร และมีความงามเช่นเดียวกับผลงานศิลปะ การเน้นมูลค่าในตัวผลงานเครื่องประดับอยู่เสมอเช่นนี้ ได้มีผลให้ผลงานที่ผลิตออกมาจากร้านรุ่งสีทองนี้เป็นที่ยอมรับในฝีมือ รูปแบบ และความสวยงามมาโดยตลอด จนมีลูกค้าจากถิ่นต่าง ๆ ภายนอกจังหวัดชลบุรีได้เดินทางมาที่อำเภอพานทองเพื่อสั่งทำเครื่องประดับอยู่มิได้ขาด
การทำทองรูปพรรณของนายทำนอง รุ่งสีทอง เป็นการทำทองตามกรรมวิธีโบราณที่มีความประณีต มีการออกแบบลวดลายไม่ซ้ าแบบใคร และหาตัวจับยากในอำเภอพานทอง ซึ่งนายทองได้รับการถ่ายทอดฝีมือการทำทองมาจากบิดา-มารดาตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี และก็ได้สืบสานกรรมวิธีแบบดั้งเดิมมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตทองรูปพรรณ รวมถึงขั้นตอนในขบวนการผลิตซึ่งจะได้รับความพิถีพิถันเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนจนผลงานสำเร็จสมบูรณ์ และมีลักษณะพิเศษของชิ้นงานที่ทำ คือ ลวดลายโบราณเช่น ฝักแค ลูกคล้อง กล้ามกุ้ง ปะวะหลั่ม และประคำสร้อยเป็นลวดลายที่สืบทอดมาจากรุ่นก่อน ๆ
ความสำคัญของช่างทำทองที่อำเภอพานทองหากพิจารณาในเชิงคุณค่าแล้วก็อาจกล่าวได้ว่า มีบริบทที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญมีทั้งด้าน “คุณค่า” และ “มูลค่า” พร้อมกันไปคือ มีคุณค่าในทางสุนทรียะ ภูมิหลัง รวมถึงจิตใจที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิตของช่างและตัวผลงานเอง และมีมูลค่าในตัววัตถุดิบ (ทอง) ที่นำมาใช้ในการทำเครื่องประดับแต่ละชิ้น เช่น ปริมาณมากน้อย (น้ำหนัก) ของทองย่อมมีราคาสูงต่ าขึ้นลงไปตามจ านวนของทองเป็นต้น ประการสำคัญที่เป็นปัจจัยประกอบไปกับการทำทองที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือ ประโยชน์ใช้สอยของชิ้นงานที่ช่างได้บรรจงออกแบบให้สามารถใช้งานได้ตามคุณลักษณะ เช่นใช้สวมใส่ ใช้ห้อย ใช้ติด ฯลฯ ดังนั้นผลงานการทำทองในประเด็นข้างต้น จึงเป็นชิ้นงานที่มีคุณค่าทั้งความงามและประโยชน์ใช้สอยควบคู่กันไป
“ช่างทำทอง” ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นช่างทำทองรูปพรรณแบบโบราณที่มีความประณีตและสวยงาม ตามภูมิหลังงานช่างฝีมือที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือการทำทองมาจากบิดา-มารดา ตอนนั้นนายทำนอง รุ่งสีทอง มีอายุเพียง ๑๓ ปี (ปัจจุบันอายุ ๕๙ ปี) หลังจากเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ แล้ว จึงได้เริ่มฝึกหัดการทำทองรูปพรรณเพราะทางบ้านประกอบอาชีพทำทองขายอยู่แล้ว ในระยะแรกจะทำกันเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น ลูก ๆ ทุกคนจะเรียนรู้วิชาทำทองและทำสืบทอดเป็นอาชีพตลอดมาเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี จนงานช่างทำทองของทางร้าน “รุ่งสีทอง” ได้มีการพัฒนาลวดลายและฝีมือการประดิษฐ์จนเป็นที่นิยมของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกจังหวัดชลบุรี และยังได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมายจากหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนเป็นจ านวนมาก
การทำทองที่พานทองนั้นมีนายทำนอง รุ่งสีทอง เป็นผู้ด าเนินการและมีลูกมือช่างเป็นผู้ช่วยอีก ๓-๔ คน มีการแบ่งหน้าที่ไปตามความถนัดและความสามารถของช่างแต่ละคน โดยมีวิธีการทำ วิธีทำ (Knowhow) ดังต่อไปนี้
๑. เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตทองรูปพรรณ มีเครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการทำทองหลายชนิดและแบบได้แก่ เบ้าหลอมทอง รางเททอง ปากคีบ แป้นดึงลวด คีมดึงลวด หีบลม ขวดน้ำมัน กล้องเป่าไฟ เครื่องรีด กระดานทนไฟ แกนทองเหลือง และเครื่องตีเงา
๒. ขั้นตอนกระบวนการผลิต
๒.๑ ขั้นเตรียมการ ทางร้านจะต้องเตรียมจ านวนทองคำตามน้ำหนักที่ต้องการ และแบ่งจ านวนทองคำตามสัดส่วนของน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่จะจัดทำ
๒.๒ ขั้นการผลิต อาจแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยได้ดังนี้
๒.๒.๑ นำทองมาหลอมแล้วนำไปดึงลวดตามอัตราส่วนของลวดลายต่าง ๆ
๒.๒.๒ นำมาพันแกนหรือดัดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อใช้ร้อยสร้อยหรือประกอบเป็นลวดลายต่าง ๆ
๒.๒.๓ นำมาประกอบกันโดยใช้น้ำประสานทองเป็นวัสดุประสาน
๒.๒.๔ ทำหัวจรวดแล้วติดลวดลายในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงตีตะขอหรือทำหัวเสียบ
๒.๓ ขั้นหลังการผลิต อาจแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
๒.๓.๑ ต้มน้ำกรดเพื่อทำความสะอาดและล้างน้ำกรดให้สะอาด
๒.๓.๒ นำไปขัดเงาในเครื่องตีเงา
๒.๓.๓ นำไปล้างน้ำกรดเพื่อทำความสะอาด ส่วนระยะเวลาในการผลิตจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชิ้นงาน โดยมีเวลาการทำประมาณ ๓–๒๐ วัน ตามแต่ลวดลายที่สั่งทำ
ปัจจุบันนายทำนอง รุ่งสีทอง เปิดร้านทำทองรูปพรรณอยู่ที่ ๔๐/๔ หมู่ ๘ ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ ๐๓๘–๔๕๑๒๖๗
ภูมิปัญญาเชิงช่างงานทำทองที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ที่ยังด ารงคงอยู่ในตัวลวดลายโบราณได้แก่ ลวดลายฝักแค ลูกคล้อง กล้ามกุ้ง ปะวะหลั่ม และประคำสร้อย เป็นต้น ลักษณะรูปแบบลวดลายข้างต้น ถึงแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไปแต่ความนิยมของลูกค้าในแบบอย่างลวดลายตามกรรมวิธีช่างไทยโบราณก็หาได้ลดความสนใจลงไปไม่ว่าจะเป็น ต่างหู สร้อยคอ ฯลฯ ในแต่ละวันจะมีลูกค้าจากถิ่นต่าง ๆ แวะเวียนเข้ามาสั่งทำอยู่มิได้ขาด โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีจะมีเทศกาลงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง และบรรดาข้าราชการหญิง ภริยาหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน แม่ค้านักธุรกิจ ฯลฯ มักนิยมแต่งชุดไทย ผ้าไทย เพื่อเข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว การมีเครื่องประดับตกแต่งด้วยทองรูปพรรณที่มีรูปแบบสอดคล้องกับการแต่งกายแบบไทยจึงเป็นที่นิยมในจังหวัดชลบุรี
กรณีงานช่างทองที่อำเภอพานทองหากพิจารณารูปแบบลวดลายบางลักษณะจะมีความคล้ายคลึงกับการทำทองที่จังหวัดเพชรบุรีอยู่มาก สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลในกรรมวิธีการทำและลวดลายอยู่บ้างไม่มากก็น้อย (ต้องศึกษาวิจัยเฉพาะด้านอีกครั้ง) ข้อมูลตามการศึกษาในชั้นต้นจัดได้ว่าเป็นข้อมูลที่ควรศึกษาในเชิงลึกเพื่อทำการวิจัยต่อไป เนื่องจากวิธีการทำทองแบบนี้จะหาช่างทองที่ทำตามแบบโบราณได้น้อย และขาดผู้สืบสานอย่างเป็นระบบและครบวงจรในทุก ๆ แบบทุก ๆ ชนิด จึงทำให้องค์ความรู้ต่าง ๆ อาจจะสูญหายได้ในที่สุด ในเรื่องภูมิช่างทำทองที่พานทองนี้น่าจะเป็นการศึกษาวิจัยที่ลงลึกต่อไป โดยให้แบ่งรูปแบบ ประเภทของการทำทองรูปพรรณรวมถึงวิธีการทำอย่างชัดเจน
บ้านไทยคือภูมิปัญญาไทย
สถาปัตยกรรมไทยเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนภาพชีวิตแบบไทย ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อม โดยเฉพาะในเรื่อง "บ้าน" หรือ "เรือน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผูกพันมาตั้งแต่เกิด แม้ว่าปัจจุบันการดำเนินชีวิตและรูปลักษณ์ของบ้านจะแปรเปลี่ยนไป แต่หากมองกันอย่างลึกซึ้งแล้ว ชีวิตในบ้านของคนไทยยังไม่เคยเปลี่ยน ซึ่งค่านิยมบางประการยังคงดำเนินการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บ้านมิได้มีความหมายเพียงเป็นที่อาศัยนอนในตอนกลางคืนและออกไปทำงานตอนเช้าเท่านั้น แต่บ้านคือที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีชีวิตชีวา มีความรักและความอบอุ่นเป็นที่พึ่งในทุกโมงยามที่ต้องการ
บ้านจึงเป็นที่ที่คนอยากให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตสิ่งหนึ่ง บ้านไทยหรือเรือนไทยในความคิดของคนทั่วไปคงเป็นภาพบ้านไทยภาคกลาง ที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีหลังคาแหลมสูงชัน ประดับด้วยตัวเหงา มีหน้าต่างบานสูงรอบ ๆ ตัวบ้านอาจเป็นบ้านเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบ้านก็ได้
ลักษณะของบ้านไทยดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณ ทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ ที่ปลูกบ้านเพื่อนประโยชน์และความต้องการใช้สอย และแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัย เป็นแบบบ้านที่สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
บ้านไทย จึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจ คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและอยู่ในเขตมรสุม จึงมีฝนตกชุกในหน้าฝน บางทีหรือเกือบทุกปีจะเกิดน้ำท่วม คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน ทำนา ทำไร่ ทำประมง แม่น้ำลำคลองจึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิต ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งพักผ่อน และเป็นเส้นทางคมนาคม
คนไทยภาคกลางจึงนิยมปลูกบ้านอยู่ริมฝั่งน้ำสายเล็กสายน้อย เมื่อยามน้ำหลากน้ำก็จะไหลท่วมบ้านเรือน คนไทยแต่ก่อนไม่รู้จักการถมที่ดินหนีน้ำท่วม จึงปลูกบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งให้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งช่วยให้ลมผ่านสะดวก ทั้งเพื่อความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย หรือคนร้ายในยามค่ำคืน และยังเป็นการป้องกันน้ำท่วมถึงตัวบ้านอีกด้วย ใต้ถุนบ้านนี้ในยามปกติอาจใช้เป็นที่สันทนาการของครอบครัวคือ เป็นที่พักผ่อน หรือที่เล่นของเด็ก ๆ หรือใช้รวมกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทอผ้า ตั้งเตาหรือกระทะทำขนมกวนต่าง ๆ และไว้เก็บสิ่งของทั้งใหญ่และเล็ก ยามเมื่อน้ำหลากมาก็ย้ายสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จากใต้ถุนขึ้นไว้บนตัวเรือน ใต้ถุนที่ยกสูงนี้ นิยมให้สูงกว่าระดับศีรษะคนยืน เพื่อให้เดินได้สะดวก
ดังที่กล่าวแล้วว่าประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน แสงแดดจัดจ้า อากาศโดยทั่วไปจึงร้อนถึงร้อนจัด โดยเฉพาะในหน้าร้อน บ้านจึงเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย ภูมิปัญญาของการปลูกบ้านไทยคือ การออกแบบให้เป็นหลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศภายในเบาลอยตัวอยู่ ขณะที่ความร้อนจะถ่ายเทสู่ตัวบ้านหรือภายในห้องได้อย่างช้า ๆ เนื่องจากระยะความสูงของหลังคาทำให้ภายในตัวบ้านเย็นสบาย แม้จะมีห้องและฝากั้น แต่ก็มีพื้นที่เพียง 40% ที่เหลืออีก 60% เป็นชานเปิดโล่ง ทำให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ทั้งลมจากใต้ถุนสูงที่พัดขึ้นมาข้างบนก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สายลมเย็นจะพัดผ่านในบ้านตลอดเวลา
ลักษณะอีกอย่างหนึ่งของบ้านไทยที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาอากาศร้อนคือ การสร้างชายคาหรือไขรา ให้ยื่นยาวออกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เป็นการป้องกันแดดไม่ให้เผาฝาบ้านให้ร้อน ป้องกันฝนสาด แดดส่อง ห้องจะได้เย็นตลอดทั้งวัน
องค์ประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้บ้านไทยเป็นบ้านที่ร่มเย็นคือ "ความโปร่ง" ซึ่งเกิดจากการออกแบบฝาบ้านให้มีอากาศผ่านได้ เช่น ใช้ฝาสำหรวด หรือฝาขัดแตะ หน้าจั่วของบ้านทำเป็นช่องโปร่งให้ลมผ่านได้
ลักษณะเด่นชัดอีกประการของบ้านไทยคือ รูปทรงบ้านที่มีระเบียบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน จะแลเห็นได้ตั้งแต่ชานหน้าเรือน ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งรับลม คนนั่งจากชานเรือนจะมองเห็นมุมกว้าง ทำให้รู้สึกโล่งโปร่งใจโปร่งตา ถัดจากชานเข้ามาเป็นระเบียงที่ใช้รับรองแขก จัดงานตามประเพณีนิยม หรือคติทางศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ โกนจุก แต่งงาน ตากอาหารแห้ง และที่นอนชานมักใช้ปลูกไม้กระถาง วางอ่างน้ำ ปลูกตะโกดัดและบอนไซ ซึ่งคนแต่ก่อนนิยมปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้เชยชม และอาจจัดมุมใดมุมหนึ่งของนอกชานในที่ลับตาคนเป็นที่อาบน้ำก็ได้
ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อไปลักพาตัวนางวันทองเมียรักกลับคืนมานั้น บรรยายบรรยากาศบนชานเรือนของขุนช้าง ซึ่งเป็นคหบดีเมืองสุพรรณไว้น่าดูนัก อ่านแล้วรู้สึกรื่นรมย์ บอกไม่ถูกทีเดียว
โจนลงกลางชานร้านดอกไม้ ของขุนช้างสร้างไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน ชื่นชื่นลมชายสบายใจ
กระถางแถวแก้วเกตพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดตัดทรงสมละไม ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน
ตะโกนาทั้งกิ่งประกับยอด แทงทวยทอดอินพรหมนมสวรรค์
ข้าวผลิดอกออกช่ออยู่ชูชัน แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา
ยี่สุ่นกุหลาบมะลิซ้อน ซ้อนชู้ชูกลิ่นถวิลหา
ลำดวนยวนใจให้ไคลคลา สายหยุดหยุดช้าแล้วยืนชม
ถัดถึงกระถางอ่างน้ำ ปลาทองว่ายคล่ำเคล้าคลึงสม
พ่นน้ำดำลอยถอยจม น่าชมชักคู่อยู่เคียงกัน
หากมีพื้นที่รอบ ๆ บ้าน ก็นิยมปลูกไม้ใหญ่หลายชนิดไว้ให้ร่มเงา เรือนบางหลังยังเปิดช่องตรงกลางชานไว้ปลูกไม้ยืนต้น เพื่อให้ร่มเงาบริเวณชานเรือนอีกด้วย
ฝีมือช่างไทยที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งที่ปรากฎในเรือนไทยคือ การไม่ใช้ตะปู แต่จะตรึงติดด้วยลิ้นไม้เข้าเดือย ตั้งแต่การตรึงติดของจั่วและคาน จนถึงการทำบันไดบ้าน ในการปลูกบ้านไทยยังแฝงคติความเชื่อของเรื่องการวางทิศทาง การให้ความสำคัญของไม้แต่ละชิ้นที่ใช้ ซึ่งมีพิธีทำขวัญเสาสำหรับผีที่ปกปักรักษาต้นไม้ที่ถูกตัดมา การเรียกชื่อไม้ที่เป็นโครงสร้างบ้านก็เรียกด้วยความเคารพ ซึ่งแสดงถึงการให้เกียรติและให้ความสำคัญต่อทุกสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัว และทั้งหมดนี้เกิดจากลุ่มลึก และภูมิปัญญาของช่างโบราณของไทยอย่างแท้จริง
พัดสาน
พัดสาน เป็นของใช้สำหรับโบกเตาไฟของคนไทยในสมัยก่อน หรือใช้สำหรับโบกพัดร่างกายให้หายคลายจากความร้อนได้ สามารถที่จะนำติดตัวไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก วัสดุที่ใช้พัดสานเป็นผลผลิตจากพืชพรรณธรรมชาติในท้องถิ่นคือ ไม้ไผ่
การสานพัด ผู้สานนิยมสานเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ มุ่งเน้นประโยชน์การใช้งาน มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงามประณีต เช่น พัดสานห้าเหลี่ยมเหมาะสำหรับโพกพัดเตาไฟ พัดยกลายดอกสานเป็นลวดลายต่าง ๆ พัดละเอียดรูปใบโพธิ์หรือรูปหัวใจ และรูปตาลปัตร
พัดสานบ้านแพรกเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านอันทรงคุณค่าที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวอำเภอบ้านแพรกริเริ่มการสานพัดมาเป็นเวลานับ ๔๐ ปี มีการประยุกต์ปรับปรุงรูปแบบตลอดเวลา การสานพัดเป็นอาชีพเสริมทำรายได้ดีภายในครัวเรือน ชาวบ้านจะสานพัดในช่วงว่างเว้นจากการทำนา เป็นสินค้าพื้นเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวอำเภอบ้านแพรก พัดสานจึงกลายมาเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องให้เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอบ้านแพรก ดังปรากฏในคำขวัญที่ว่า
“หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อขาว หลวงพ่อเภาคู่บ้าน พัดสานคู่เมือง พิพิธภัณฑ์ลือเลื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ ดินแดนถิ่นลิเก บ้านเกิดของหอมหวล นาคศิริ ราชาลิเกแห่งเมืองไทย”
วัสดุอุปกรณ์
1. ไม้ไผ่สีสุก
2. มีดจักตอก
3. สีย้อมผ้า
4. กระทะ
5. เตาถ่าน
6. แบบพิมพ์รูปพัด
7. ดินสอ
8. กรรไกร
9. กิ๊บติดผมสีดำ
10. เป็กตอกเย็บพัด
11. ฆ้อน
12. เลื่อย
13. สว่านเจาะด้ามพัด
14. จักรเย็บพัด
15. ด้าย
16. น้ำมันสน
17. เกลือ
18. สารส้ม
19. ฟืน
20. ไม้ขีดไฟ
21. กะละมัง
22. แปรงทาสี
23. ถ้วย
24. ผ้าตาดทอง
25. ผ้าลูกไม้
26. ผ้าดิบ
วิธีการทำพัดสาน
1. ขั้นตอนแรกคือการเลือกไม้ไผ่ที่จะนำมาสานพัด ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาจักตอกสานพัดคือไผ่สีสุก การคัดเลือกไม้จะต้องเป็นไม้ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เรียกว่า “ไม้มันปลากด” เนื้อไม้จะขาวเป็นมัน เมื่อนำไปย้อมสี สีจะเป็นเงาสดใส ไม้ที่ไม่นิยมนำมาสานพัดคือ ไม้อ่อน เพราะไม้อ่อนมอดจะกิน เมื่อแห้งเส้นตอกจะแตกเพราะเนื้อไม้หดตัว สำหรับไม้แก่สีของเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาล เมื่อย้อมสีสีจะไม่สดใส และเนื้อไม้ที่แก่จะกรอบแตกหักง่าย ไม้ที่เป็นตามดเนื้อไม้จะดำ ผู้สานจะคัดเลือกไม้ที่มีลำสมบูรณ์ปล้องยาว ปลายลำหรือยอดไม่ด้วนเพราะ ไม้ที่ยอดหรือปลายลำด้วนเนื้อไม้จะหยาบไม่สมบูรณ์
2. การจักตอก นำไม้ที่คัดเลือกได้มาตัดเป็นท่อนด้วยเลื่อยคมละเอียด ถ้าเป็นพัดเล็กใช้ปล้องยาวประมาณ ๒๐–๓๐ เซนติเมตร และพัดใหญ่ใช้ปล้องยาวประมาณ ๓๐–๕๐ เซนติเมตร นำมาจักตอกเอาข้อไม้ออกให้หมด การจักตอกทำพัดละเอียด เส้นตอกจะต้องมีขนาดเล็ก เป็นพิเศษ มีความกว้างประมาณ ๓-๔ มิลลิเมตร ถ้าเป็นพัดธรรมดาหรือพัดหยาบขนาดเส้นตอกจะใหญ่ การจัดตอกจะต้องนำผิวและขี้ไม้ออกให้หมด ลอกตอกด้วยมีดตอก ลักษณะพิเศษของ มีดตอกเป็นมีดที่มีส่วนปลายแหลมคมด้ามยาว เวลาจักตอก ผู้จัดจะให้ด้ามมีดแนบลำตัว เพื่อบังคับให้เส้นตอกมีความบางเสมอกันตลอดทั้งเส้น การจักตอกนิยมจักครั้งละมาก ๆ นำตอกที่จักไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้งก่อนนำไปย้อมสี
3. การย้อมสีต้องย้อมลงในภาชนะที่เตรียมไว้ และย้อมครั้งละมาก ๆ เป็นการประหยัดสี สลับสีตามต้องการ วิธีการย้อมต้องย้อมลงในน้ำเดือด จุ่มเส้นตอกให้ทั่วตลอดทั้งเส้น เมื่อย้อมแล้วนำเส้นตอกที่ย้อมไปล้างลงในน้ำเย็น เป็นการล้างสีที่ไม่ติดเนื้อไม้ออกก่อน จะเหลือเฉพาะสีที่ติดเนื้อไม้เท่านั้น นำไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้งก่อนนำไปสานพัด
4. การสานพัดนิยมสานเป็นลวดลายต่าง ๆ ลายที่เป็นลายพื้นฐานของการสานพัดคือลายสองและลายสาม การสานพัดผู้สานจะใช้ความชำนาญและความสามารถพิเศษให้การสานยกดอกลวดลายปรับปรุงรูปแบบประยุกต์ลวดลายให้มีความสวยงามประณีต ไม่ใช่เฉพาะลายพื้นฐานเท่านั้น เช่น สานยกดอกเป็นลายเครือวัลย์ ลายดอกพิกุล ลายดอกเก้า ลายดอกจันทน์ ลายตาหมากรุก เป็นต้น
5. การตัดแบบพัดสาน เมื่อสานเป็นแผงตามต้องการ จะนำแบบหรือแม่พิมพ์ที่สร้างไว้เป็นรูปใบโพธิ์ วางทาบลงบนแผงพัดที่สานไว้ ใช้ดินสอช่างไม้ขีดตามรอยขอบของแม่พิมพ์ใช้กรรไกรชนิดตัดสังกะสีตัดตามรอยดินสอที่ขีดไว้
6. การเย็บพัดสาน นำพัดสานที่ตัดตามแบบพิมพ์มาเย็บขอบพัดด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง หรือลูกไม้สีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับพัดสาน การเย็บในสมัยก่อนใช้เย็บด้วยด้วย สมัยปัจจุบันนิยมใช้จักรเย็บผ้าเย็บเพราะสะดวกและรวดเร็วกว่าการเย็บด้วยมือ
7. การใส่ด้ามพัดสาน นำด้ามพัดที่เหลาแล้วมาเจาะด้วยสว่านมือจำนวน ๒ รู นำตัว ใบพัดมาประกอบด้ามโดยใช้ตะปูหัวกลมตอกลงตามรูที่เจาะไว้ แล้วพับปลายตะปูทั้งสอง ยึดติดให้แน่น เพื่อให้พัดสานมีความคงทนและสวยงาม ใช้น้ำมันชักเงาทาเคลือบพัดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวพัดก็จะได้พัดสานที่มีความสวยงามตามต้องการ
ลักษณะเด่นของพัดสานบ้านแพรก คือ การประยุกต์รูปแบบให้มีความสวยงามประณีต เช่น สานเป็นตัวหนังสือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สานเป็นรูปลาย ๑๒ ราศี รูปเจดีย์ ๓ องค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ รูปพระเจ้าอู่ทอง รูปนกคู่ สานประยุกต์ลวดลายรูปแบบตามโอกาสและสถานที่ที่ต้องการ
ราคาพัดสาน
- พัดสานตัวหนังสือ ขนาด 4.5 นิ้ว ราคา 10 บาท
- พัดสานตัวหนังสือ ขนาด 7 นิ้ว ราคา 20 บาท
- พัดสานตัวหนังสือ ขนาด 9 นิ้ว ราคา 25 บาท
- พัดสานตัวหนังสือ ขนาด 11 นิ้ว ราคา 30 บาท
- พัดสานแบบหยาบ ขนาด 9.5 นิ้ว ราคา 5 บาท
- พัดสานแบบละเอียด ขนาด 4.5 นิ้ว ราคา 10 บาท
ปัญหา/อุปสรรค
ตลาดไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะทำตามที่ลูกค้าสั่งเข้ามา ลูกค้าส่วนใหญ่จะนำไป เป็นของที่ระลึกของชำร่วยงานต่าง ๆ
อังกะลุง
การจัดทำเครื่องดนตรีไทยจากวัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อว่า “อังกะลุง” ของนายอุบล ทิพย์โอสถ ชาวตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นงานช่างที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก นายผาง ฤทธิ์มังกร ซึ้งได้เสียชีวิตแล้วเพื่อเป็นการสืบสานเครื่องดนตรีไทยที่มีมาแต่ช้านาน แต่กำลังจะลดเลือนหายไปถ้าขาดการอนุรักษ์
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีไทยอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตจากวัสดุที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย นั่นก็คือไม้ไผ่ และยังมีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดที่ผลิตจากไม้ไผ่ แต่อังกะลุงมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกับเครืองดนตรีอื่นๆคือมีการประสานเสียงในตัวถึง ๓ เสียง มีเสียงนุ่มนวลไพเราะ อังกะลุงจัดอยู่ในประเภทเครื่องตี เพราะการเกิดเสียงเกิดจากการกระทบของกระบอกไม้ไผ่ ๓ กระบอก ได้รับอิทธิพลมาจากชวา (อินโดนีเชีย) เดิมเรียกว่า “อุงคะลุง” โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เดิมใช้ไม้ไผ่ ๒ กระบอก และมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเขย่าได้ใช้วิธีการไกว ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กและมี ๓ กระบอก และใช้การเขย่าแทนซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตและวัสดุที่หาได้ในประเทศไทยอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง แต่การบรรเลงอังกะลุงนั้นต้องบรรเลงเป็นทีม ๑ ชุด อย่างน้อย ๗ คู่ จึงเป็นเรื่องยุ่งยากในการบรรเลง ต่อมามีผู้คิดอังกะลุงลาวขึ้นซึ่งสามารถบรรเลงคนเดียวได้ แต่ก็ไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก จึงควรแก่การศึกษาเก็บข้อมูล เพราะปัจจุบันมีเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อหมู่วัยรุ่นอย่างมากตลอดจนวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปจนอาจทำให้อังกะลุงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยหมดความนิยมจนเหลือแต่ตำนานในที่สุดก็เป็นได้
ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ให้ความงามซึ่งสัมผัสด้วยการได้ยิน ดนตรีเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มมีความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม แต่มนุษย์ก็ให้ความสำคัญกับดนตรีจะเห็นว่ามนุษญ์ทุกชาติทุกภาษาใช้ดนตรีในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ละชาติจึงคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่แตกต่างกันออกไป
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่คนไทยได้คิดึ้นโดยได้รับแบบอย่างมาจากเครื่องดนตรีชวาที่ชื่อว่า “อุงคะลุง”ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งรูปร่าง ลักษณะ เสียง วิธีการบรรเลงจนเป็นอังกะลุงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
นายอุบล ทิพย์โอสถ ชาวตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นช่างพื้นบ้านผู้ผลิตอังกะลุง โดยได้รับการถ่ายทอดมาจากเพื่อนบ้านได้แก่นายผาง ฤทธิ์มังกร และนางลำไย เดชวิชิต ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว โดยยึดเป็นอาชีพมานานกว่า ๒๕ ปี และถ่ายทอดให้กับลูกหลาน เพื่อนบ้าน และผู้สนใจอีกด้วย
อังกะลุง ทำจากไม้ไผ่ เรียกว่าไผ่ลายที่แก่จัดและมีขนาดที่ต่างกันทั้งด้านความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลาง เพื่อให้ได้เสียง ๓ ระดับที่ประสานกลมกลืน โดยตัดไม้ให้ด้านล่างห่างจากข้อ ๒ นิ้ว เพื่อปาด ๒ ด้านให้เป็นขาไว้ ๒ ขา เพื่อสำหรับวางลงบนลาง ด้านบนปาดคว้านด้วยมีดเพื่อเป็นหูห้อยกับคานให้แกว่งไปมาได้ และในขณะที่ปาดต้องเทียบเสียงด้วยทุกกระบอก ซึ่งการปาดเนื้อไม้ออกก็จะทำให้เสียงเปลี่ยนไป เมื่อได้ไม้ไผ่ ๓ กระบอก ๓ เสียง สูง กลาง ต่ำ จึงนำมาแขวนบนรางไม้สัก ยาว ๑ ฟุต เซาะร่องไว้ ๓ ร่อง และตั้งเสารอไว้สำหรับติดคานห้อยกระบอก นำกระบอกใหญ่วางที่ช่องแรก ติดคานขวางให้ขากระบอกลอยขึ้นเล็กน้อยแกว่งไปมาได้ แล้วตอกตะปูมัดให้แน่น ติดกระบอกกลางและเล็กเช่นเดียวกัน เป็นอันเสร็จก็จะได้อังกะลุง ๑ ตับ ติดตัวโน้ตที่อังกะลุงแต่ละตับ ติดหางนกยูงประดับธงชาติเพื่อความสวยงาม
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีที่ต้องบรรเลงเป็นทีมจึงจะเป็นเพลง ซึ่งไม่สามารถบรรเลงเดี่ยวได้ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก จึงมีผลกระทบมาถึงงานช่างผู้ผลิตอังกะลุงที่ต้องลดน้อยตามลงไปด้วย ดังนั้นควรเก็บข้อมูลไว้ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการสูญหายได้
ดนตรี เป็นสื่อกลางแห่งความเข้าใจของคนทุกชาติที่ได้สัมผัส เสียงดนตรีทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่างได้ เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจเบิกบานร่าเริง มนุษย์เรามีสมองที่ฉลาดล้ำลึกสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่ทำให้เกิดเสียงต่างๆได้(เครื่องดนตรี) อันได้แก่เสียง สูง กลาง เสียงต่ำ แล้วนำมาเรียบเรียงจนเกิดความไพเราะ มีอิทธิพลต่ออารมณ์ของมนุษย์อย่างมาก จะเห็นได้ว่าทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ มีดนตรีด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันไปก็คือเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดนตรีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ดังนั้นในแต่ละชนชาติอาจมีความแตกต่างกันไปตามความคิด ตามสภาพแวดล้อมและวัสดุที่มีอยู่ในชาตินั้นๆ เครื่องดนตรีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าเสียงดนตรีเพราะเครื่องดนตรีมีบทบาทในชีวิตมาก่อน ในลักษณะสื่อสาร สัญญาณต่างๆ เช่น ตีเกราะ เคาะไม้ เป่าปาก เป็นต้น จึงพัฒนาเป็นเครื่องดนตรี
ดนตรี นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินทางอารมณ์แล้วยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมประจำชาติ เครื่องดนตรีรนอกจากจะเป็นแหล่งกำเนิดเสีนงที่มีความไพเราะแล้วยังเป็นศิลปะของแต่ละชาติที่มีรูปร่าง สีสัน ลวดลายการผลิต ตลอดจนการบรรเลงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้นๆ
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวา (อินโดนีเซีย) แต่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงทั้งรูปร่าง และวิธีการบรรเลงจนเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างกลมกลืน
ช่างผลิตเครื่องดนตรีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักดนตรี ซึ่งน้อยคนที่จะมีผู้กล่าวถึง ทำให้ศิลปะสาขานี้ลดจำนวนน้อยลงคงเหลือไว้แต่ที่สืบทอดทางสายเลือด ลูกหลาน หรือเพื่อนบ้านที่ยังรักในภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเช่นการทำอังกะลุงชาวตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
งานช่างฝีมือพื้นบ้านด้านเครื่องดนตรีไทย เรื่อง การผลิตและวิธีทำ “อังกะลุง” จังหวัดปราจีนบุรี เป็นงานช่างฝีมือพื้นบ้านด้านเครื่องดนตรีไทยที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน ในกลุ่มงานช่างส่วนใหญ่ก็คือ ลูกหลาน และชาวบ้านที่ว่างงาน ผลงานส่วนใหญ่ทำอังกะลุงราว ลูกค้าส่วนใหญ่ คือ โรงเรียนต่างๆ ระยะการผลิตและวิธีทำ หนึ่งตับ ใช้เวลาผลิตประมาณ ๔ ชั่วโมง
ผู้ถ่ายทอด คือ นายผาง ฤทธิ์มังกร และ นายลำไย เดชวิชิต ปัจจุบันไม่มีชีวิตแล้ว ผู้รับการถ่ายทอด คือ นายอุบล ทิพย์โอสถ ได้รับการถ่ายทอดมาเป็นเวลา ๒๕ ปี และได้ถ่ายทอดต่อให้กับกลุ่มช่างผลิตอังกะลุง ได้แก่ นายคณิต ทิพย์โอสถ , นายดำรงค์ ใหม่สุวิง , นางบัวขาว ทิพย์โอสถ , นางหนูพัก แซ่อุย , นางสาวสุวรรณา กวยเลิศ , นายวิรัตน์ สรฤทธิ์ , นางอำ ใจประโคน และนางฉวี วงษ์แก้ว
ชื่อช่าง นายอุบล ทิพย์โอสถ
เกิดวันที่ - เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๖ หมู่ที่ ๒๐ ตำบล เนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๒๓๐
โทรศัพท์ ๐-๗๗๓๔-๒๑๒๑
วัสดุที่ใช้ในการผลิต
๑ ไม้ไผ่ลาย
๒ รางไม้
๓ เสาอังกะลุง
๔ ไม้ขวาง
๕ เชือก , กาว
๖ สี , น้ำมันชักเงา
๑ ไม้ไผ่ลาย เป็นไม้ที่มีความแกร่ง คือมีเนื้อไม้แข็งได้ที่ จึงจะมีเสียงไพเราะ และจะต้องมีลายที่สวยงาม ตัดไม้ให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำมาตากแห้งย่างไม้กับไฟอ่อน ๆ นำมาอาบน้ำยากันมอด บ่มไม้โดยใช้ผ้าคลุมจะช่วยป้องกันมอดได้ หลังจากนั้นจึงนำมาเหลาแต่งเสียงตามที่ต้องการ ไม้ไผ่ลายเป็นไม้ไผ่ประเภทหนึ่ง ที่ปล่องไม้จะมีลายด่างเหมือนตกกระ เป็นโดยธรรมชาติทั่วทุกปล้อง จะเห็นลายเด่นชัดเมื่อมันแก่ เนื้อไม้ค่อนข้างบางเบาแต่แข็งแกร่ง ยิ่งแก่ก็ยิ่งแข็ง แต่โบราณช่างทำดอกไม้ไฟจะนำมาประกอบการทำดอกไม้ไฟที่มีชื่อว่า “ ช้างร้อง ”เพราะทำให้เกิดเสียง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะหาไม้ไผ่ชนิดนี้ได้ง่ายแถบชานเมืองกรุงเทพฯ ส่วนมากจะขึ้นตามป่าช้าตามวัด (ที่ฝังศพ หรือเก็บศพก่อนเผา) ต่อมาก็มีคนนำมาปลูกตามสวน แต่ในปัจจุบันจะหาดูได้ในบางท้องที่ เช่น จันทบุรี นนทบุรี ปราจีนบุรี เป็นต้น
๒ รางไม้ เดิมจะใช้ไม้สักทองขุดเป็นราง เพื่อใช้วางขาที่ฐานกระบอกลงในร่องที่ขุด ร่องที่เจาะจะมี ๓ ร่อง และรูกลมอีก ๕ รู สำหรับตั้งเสายึดตัวกระบอกอังกะลุง
๓ เสาอังกะลุง มักทำด้วยไม้ไผ่เหลาเกลาหรือกลึงจนกลมเรียบ มีความยาวตามความสูงของกระบอกอังกะลุง ขนาดโตกว่ารูที่รางเล็กน้อย
๔ ไม้ขวาง ทำจากไม้ไผ่เหลาแบน ส่วนกลางปาดเนื้อไม้เป็นร่องลึกพอประมาณ ใช้สำหรับสอดผ่านช่องกระบอกอังกะลุง เพื่อยึดตัวกระบอกกับเสา
๕ เชือก และกาว ใช้เป็นตัวยึดระหว่างไม้ขวาง กับเสา
๖ สี , น้ำมันชักเงา ใช้ตกแต่งตัวอังกะลุงให้มีความสวยงาม เป็นเงางาม
เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑ เครื่องเซาะร่องไม้
๒ เครื่องขัดกระดาษทราย
๓ เครื่องตัดไม้
๔ มีดในรูปแบบต่างๆ
๕ เครื่องเทียบเสียง
๖ เครื่องไสไม้
๗ สว่านเจาะไม้
๘ ฆ้อน , คีม
๙ เครื่องพ่นสี
ขั้นตอน กระบวนการผลิตและวิธีทำ
ขั้นที่ ๑ นำไม้ไผ่ลาย ที่ตัดมาจากกอ หรือสั่งซื้อ มาจากที่อื่นทั้งลำต้นนำไปตากแดดให้แห้ง อาบน้ำยากันมอด
ขั้นที่ ๒ ไม้ไผ่ลาย ที่ผ่านกระบวนการตากแดด อาบน้ำยา และบ่มกันมอดแล้ว นำมาตัดเป็นท่อน ๆ ตามขนาดเสียงต่ำ , เสียงกลาง และเสียงสูง อังกะลุงหนึ่งตับ เท่ากับหนึ่งตัวโน๊ต ต้องตัด ๓ ขนาด คือ กระบอกสูง กระบอกกลาง และกระบอกเล็ก ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของอังกะลุงที่ทำ ด้านล่างจากข้อไม้ ให้มีความยาวประมาณ ๒ นิ้วเศษ สำหรับทำขาอังกะลุง
ขั้นที่ ๓ นำไม้ไผ่ลาย ที่ตัดเป็นท่อนๆ แล้ว ตัดขา โดยใช้มีดตัดปาดลงทั้งสองด้าน เพื่อให้กระบอกไม้ไผ่มีขา ๒ ขา แล้วใช้มีดปาดตกแต่ง ให้ได้รูปทรงที่สวยงาม
ขั้นที่ ๔ นำกระบอกไม้ไผ่ ที่ตัดขาและตกแต่งแล้ว มาปาดคว้านด้วยมีด ปาดเนื้อไม้ไผ่ออกขณะที่เริ่มปาดคว้าน ให้เปิดเครื่องเทียบเสียงไปด้วย ค่อยๆ ปาดเนื้อไม้ ออกทีละน้อย เพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ เช่น เสียงโด ทำตั้งแต่กระบอกใหญ่ คือ เสียงต่ำ กระบอกกลาง คือ เสียงกลาง และกระบอกเล็ก คือ เสียงสูง ขณะปาดคว้านไม้ไผ่ลาย แต่ละกระบอก ต้องใช้เครื่องเทียบเทียง ทุกกระบอก จึงจะได้เสียงมาตรฐาน
ขั้นที่ ๕ รางไม้ใช้ไม้สัก สั่งซื้อแบบสำเร็จขนาดยาว ๑ ฟุต นำไม้รางที่เซาะร่อง เจาะรูแล้ว วางขนาบ ๒ ด้าน เป็นแบบในการวัด แล้วนำไม้ราง ๔ หรือ ๕ ท่อน วางตรงกลาง วางให้หัวท้ายเสมอกัน ใช้ไม้บรรทัดวางทาบ ให้ตรงรูและตรงแนวที่เซาะร่อง แล้วใช้ดินสอขีดเส้นเป็นแนว
ยาว ให้ติดเหมือนกันทุกท่อน
ขั้นที่ ๖ นำไม้รางที่ขีดเส้นไว้แล้ว ไปวางบนเครื่องเซาะร่อง ใช้แท่นเครื่องบีบให้แน่นชิดกัน เพื่อไม่ให้ไม้ขยับเขยื้อน เริ่มเปิดเครื่องกดหัวใบมีดลงที่ไม้เพื่อเซาะร่อง ที่วาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมไว้แล้ว ไม้ราง ๑ อัน จะเซาะร่อง ๓ ร่อง นำมาแต่งให้ได้รูปสี่เหลี่ยม
ขั้นที่ ๗ นำไม้รางที่เซาะร่องเรียบร้อยแล้ว ไปที่เครื่องเจาะรู เจาะรูตามเส้นที่ขีดไว้ ไม้ราง ๑ อันจะเจาะ ๕ รู
ขั้นที่ ๘ นำไม้รางที่เจาะรู เซาะร่องเสร็จแล้ว ไปที่เครื่องขัดไม้ ขัดหัวและท้าย ให้เป็นรูปวงรีและขัดให้ได้สัดส่วนที่สวยงาม
ขั้นที่ ๙ นำไม้รางที่เซาะร่อง เจาะรูแล้วไปใส่เสา ด้านหัวจะใส่เสา ๒ อัน ห่างกัน ๑ นิ้ว เพื่อสำหรับไว้จับเขย่าอังกะลุง ใส่เสาทั้งหมด ๕ เสา สูงไม่เท่ากัน
ขั้นที่ ๑๐ นำไม้รางที่ใส่เสาเรียบร้อยแล้ว ไปทาสีหรือจุ่มลงในสีที่เตรียมไว้ แล้วนำไป ตากแดดให้แห้ง
ขั้นที่ ๑๑ ใส่กระบอกไม้ไผ่ลายตัวแรก กระบอกใหญ่ คือ เสียงต่ำ วางกระบอกไม้ไผ่ลงในช่องรางไม้ ที่เซาะร่องไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วใช้ไม้ขวางสอดที่รูกระบอกไม้ไผ่ที่เจาะไว้ระหว่างส่วนที่คว้าน ตอกตะปูที่ไม้ขวางกับเสายึดให้แน่นสนิท ติดกระบอกกลาง และกระบอกเล็ก ยึดด้วยไม้ขวางตอกตะปูให้แน่นทุกจุด
ขั้นที่ ๑๒ นำเชือกด้ายที่เหนียวมาผูกระหว่างไม้ขวางกับเสา ตรงที่ตอกตะปู แล้วนำไปทาสีทับตรงเชือกด้ายที่ผูกอีกครั้ง และนำไปตากแดด เพื่อให้สีแห้งสนิท
ขั้นที่ ๑๓ เมื่อสีแห้งสนิท นำอังกะลุง แต่ละตับ มาวางบนราว และติดตัวอักษร คือ ตัวโน๊ต ของแต่ละตับ เรียงลำดับตัวโน๊ตให้ถูกต้อง ติดธงหรือหางนกยูง เพื่อความสวยงาม เสร็จสมบูรณ์นำไปเขย่าบรรเลงได้
ภูมิปัญญาของช่างไม้ไผ่ เป็นไม้ที่มีลักษณะเฉพาะก็คือเป็นปล้องกลวง ซึ่งมีประโยชน์ในการทำให้มีเสียงก้องกังวาน จะเห็นได้ว่ามีเครื่องดนตรีมากมายหลายชนิดที่ทำจากไม้ไผ่ อีกทั้งยังมีความอ่อนตัวเป็นสปริงไม่หักง่าย นำไปผลิตอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆได้มากมาย อังกะลุงก็เช่นเดียวกันทำจากไม้ไผ่ชื่อว่า ไผ่ลาย ลักษณะเฉพาะคือเนื้อบางและแข็งแกร่ง เมื่อเคาะจึงเกิดเสียงดังก้องกังวาน ส่วนผิวเมื่อแก่จัดจะเป็นลาย ทำให้เพิ่มความงดงามตามธรรมชาติอย่างแท้จริง อังกะลุงจัดอยู่ในประเภทเครื่องตี(เครื่องดนตรีไทยมี 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า) แต่มีความแตกต่างคือ ใช้วิธีการเขย่าเพื่อให้กระบอกไปกระทบกับราวไม้แล้วเกิดเสียงขึ้น จัดให้เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาขึ้นอีกขั้นหนึ่งที่มีความซับซ้อนกว่าการตีบนตัวกระบอกอย่างเกราะ กรับ หรือโกร่ง และยังสามารถประสานเสียงได้ถึง 3 เสียง เพราะกระบอก 3 กระบอกที่มีขนาดต่างกัน เสียงที่เกิดขึ้นจึงมี 3 ระดับ ซึ่งเป็นพัฒนาของเครื่องดนตรีไทย
วิธีการทางช่างใช้วิธีการง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ผู้ที่มีความรู้ทางช่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะปัจจุบันมีเครื่องมือไฟฟ้าที่ช่วยทุ่นแรง ทำงานง่าย รวดเร็ว แต่ยังคงมีส่วนที่ต้องใช้ความรู้ทางดนตรี, ความละเอียดอ่อน, ความประณีตและความชำนาญตรงนี้คือสิ่งที่ช่างทั่วไปต้องเรียนรู้อีกนานคือการปาดกระบอกที่ต้องเทียบเสียงไปตลอดจนกระทั่งได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ในปัจจุบันก็ยังมีเครื่องมือช่วยในการเทียบเสียงซึ่งก็ทำให้ช่างทำงานได้ง่ายขึ้นโอกาสผิดพลาดหรือเสียงไม่ตรง(เพี้ยน)มีน้อยมาก
การป้องกันเนื้อไม้ ไม้ไผ่เป็นอาหารของมอดเนื่องจากเยื่อไม้มีทั้งแป้ง น้ำตาลและน้ำมันภูมิปัญญาชาวบ้านจะนำไปย่างไฟเพื่อให้สารที่เป็นอาหารสลายไปและตัวมอดที่มีอยู่ตาย แต่ก็ยังมีโอกาสหลงเหลืออยู่ได้ เมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงจึงนำมาอาบสารเคมีและบ่มคลุมด้วยผ้าจะทำให้มอดตายหมดและยังเคลือบน้ำมันชักเงาซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความมันวาวงดงามแล้วยังเป็นการรักษาเนื้อไม้และป้องกันแมลงได้อีกด้วย
เครื่องมือทางช่างถึงแม้จะมีเครื่องมือไฟฟ้ามาช่วยหลายอย่าง แต่เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานบางอย่างให้รวดเร็วเท่านั้น เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ขาดไม่ได้คือมีดที่มีลักษณะปลายต่าง ๆ ซึ่งใช้งานแตกต่างกันไปอีกทั้งการออกแบบด้ามเฉพาะ เพื่อความถนัดในการจับ และมีความยาวเพื่อใช้รักแร้หนีบให้เกิดความมั่นคงแม่นยำในการทำงานนี่คือภูมิปัญญาช่างที่คิดค้นขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมานานนับชั่วอายุคน
วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีไทยเปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของชาติตะวันตกผู้คนให้ความสนใจกับดนตรีไทยน้อยลงโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นจึงทำให้ผู้ที่สนใจจะประกอบอาชีพด้านดนตรีไทยมีน้อยลง จะมีเฉพาะผู้ที่สนใจเป็นงานอดิเรกหรือเป็นเครื่องผ่อนคลายเพลิดเพลินเท่านั้นซึ่งก็ไม่เหมาะกับเครื่องดนตรีอังกะลุงเพราะต้องบรรเลงกันเป็นทีมไม่สามารถบรรเลงเดี่ยวได้ อาจมีการประยุกต์เป็นอังกะลุงราวแต่ก็ไม่ค่อยนิยมเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ผลิตอังกะลุงจึงหาตลาดได้ยากลงทุกที ยังพอมีอยู่บ้างก็คือสถานศึกษาและชาวต่างชาติที่นิยมซื้อไปเป็นของที่ระลึก
วัตถุดิบไม่เพียงพอ ไม้ไผ่ลายไม่ใช่พืชเศรษฐกิจจึงมีคนปลูกน้อยทำให้ต้องสั่งจากที่อื่นบ้าง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
แรงงานหายากเนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ผู้คนหันไปทำงานโรงงานเป็นส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีแรงงานที่จะช่วยผลิต ลูกหลานที่เรียนสูงขึ้นก็ไปทำงานที่อื่นกันหมด
ค่าตอบแทนที่ได้ต่ำไม่สามารถดึงดูดความสนใจให้คนหันมาทำอาชีพนี้
หน่วยงานภาครัฐไม่ให้การสนับสนุนเท่าที่ควรในด้านการตลาดหรือสนับสนุนให้ประชากรหันมาสนใจกับเครื่องดนตรีไทย
ด้วยปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้การผลิตอังกะลุงเป็นข้อมูลที่เสี่ยงต่อการสูญหายจึงจัดเก็บข้อมูลนี้ไว้เพื่อศึกษาค้นคว้าต่อไป
การสานไซ สานข้อง
การสานไซปลอกห้า สองงาน ของลุงต่วน รอหันต์ และการสานข้องเป็ด ของลุงนา อุ่นใจ ชาวตำบลโพธิ์งาม ตำบลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ไซปลอกห้า สองงาน ของลุงต่วน รอหันต์ นั้น มีลักษณะพิเศษคือใช้ตอกสาน ๕ เส้น ตอกยืน ๑๐๐ เส้น และมีส่วนที่ตักปลาเข้าไซที่เรียกว่างา ๒ ข้าง ส่วนข้องเป็ด เป็นการสานข้องใส่ปลาและขัดให้เป็นรูปร่างคล้ายเป็ด ติดทุ่นไม้ไผ่ลอยน้ำได้ ซึ่งนับว่าเป็นงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างรูปทรงจากรูปทรงเรขาคณิตให้กลายเป็นรูปทรงอิสระคล้ายรูปสัตว์จัดเป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
การจัดเก็บข้อมูล การสานไซปลอกห้า สองงาน และข้องเป็ด ของลุงต่วน รอหันต์และลุงนา อุ่นใจ นี้ เป็นการบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นของงานช่างฝีมือที่มีความประณีต สวยงาม และมีจินตนาการแฝงมาในชิ้นงานมากกว่าทำขึ้นเพื่อใช้สอยอย่างเดียว เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
ไซปลอกห้า สองงาน ของลุงต่วน รอหันต์ และข้องเป็ด ของลุงนา อุ่นใจ เป็นเครื่องมือดักจับและใส่สัตว์น้ำ ที่ทำขึ้นจากการสานไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรีที่มีแหล่งปลูกอยู่มากมาย ช่างฝีมือทั้งสองสร้างชิ้นงานขึ้นด้วยฝีมือที่ประณีต สวยงาม จากทักษะของการฝึกฝนมาเป็นเวลานาน จากการสืบทอดต่อๆกันมาจากบรรพบุรุษ
ไซ เป็นเครื่องดักและจับสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา ฯลฯ สานด้วยไม้ไผ่เป็นซี่ถี่ๆ รูปร่างต่างๆกัน ด้านหน้ามีงา สำหรับให้กุ้งหรือปลาเล็กๆเข้า ไซใช้ดักตามทางน้ำไหลไม่ลึกนัก โดยใช้เฝือกซึ่งเป็นไม้ไผ่ซี่ๆ ถักเป็นแผงยาวๆกันทางน้ำไหล เว้นช่องเล็กๆไว้ให้ปลาเข้าไซ การดักไซต้องวางหน้าไซประกบติดเฝือกตรงช่องที่เจาะไว้ และหันตามน้ำเพื่อให้กุ้ง ปู ปลา ฯลฯ ที่ว่ายทวนน้ำเข้าไปติดในไซ ส่วนข้อง เป็นเครื่องจักสานสำหรับใส่ปลาหรือสัตว์น้ำ มีรูปร่างต่างกันไปตามการใช้สอย มีปากกลม มีงาเป็นฝาปิด บางครั้งมีทุ่นขนาบเพื่อให้ลอยน้ำได้
การสานไซ ปลอกห้า สองงา เป็นหัตถกรรมที่เกิดจากการนำวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่มาก คือไม้ไผ่นำมาจักเป็นตอกและสานเป็นรูปทรงกระบอก แต่มีลักษณะพิเศษแปลกกว่าที่อื่น คือ ใช้ตอกสาน ๕ เส้นและตอกยืน ๑๐๐ งา มีงา ๒ งา ส่วนใหญ่จะเห็นมีเพียงงาเดียว ส่วนข้องเป็ด เป็นการสานเครื่องมือใช้ใส่ปลา ที่ช่างฝีมือมีจินตนาการดัดรูปทรงให้คล้ายเป็ด พร้อมติดทุ่นไว้ที่ข้างข้อง เพื่อให้ลอยน้ำได้ สะดวกในการลากจูงไปในขณะหาปลาในน้ำ นับว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างด้วยความประณีตเพื่อใช้สอยแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยความรู้สึกนึกคิด จินตนาการและภูมิปัญญา เกิดความรู้สึกประทับใจเมื่อได้พบเห็นงานจักสาน ทั้ง สองอย่างนี้
ปัจจุบันไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ดหาดูได้ยาก เนื่องจากอาชีพหาปลาหรือสัตว์น้ำ ในชนบทเริ่มลดน้อยลง คนรุ่นใหม่หันไปยึดอาชีพทำงานในโรงงาน ช่างฝีมือที่จักสานก็ไม่ได้รับการถ่ายทอดให้มีต่อไป เนื่องจากทำยาก ใช้เวลามาก ราคาถูก และยังไม่มีตลาดรับซื้อแน่นอน ตลาดส่วนหนึ่งที่พบเห็นเป็นการนำเครื่องจักสานนี้ไปตกแต่ง ประดับอาคารเสียมากกว่าที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำ ซึ่งมีอุปกรณ์ใหม่ๆและวิธีการใหม่ๆ มาใช้ จึงทำให้นับวันงานจักสานนี้จะสูญหายไป สมควรแก่การบันทึกข้อมูลก่อนที่จะสูญหาย
ไซปลอกห้า สองงาน และข้องเป็ดเป็นงานหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอยในการหาปลาและสัตว์น้ำ เป็นภูมิปัญญาของช่างฝีมือที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ
แต่กระนั้น ก็ยังมีการใส่จินตนาการให้ดูมีความคิดและจิตนาการ พัฒนารูปร่างให้ประณีต สวยงาม แปลกตา ทรงคุณค่า แก่การใช้สอยและเก็บรักษา
การจักสานไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด เกิดจากการนำวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ตามธรรมชาติของจังหวัดปราจีนบุรี คือไม้ไผ่ ที่นอกจากจะได้หน่อมาเป็นอาหารแล้ว ยังนำลำต้นมา
จักตอก และสานเป็นงานหัตถกรรมต่างๆ เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำจันวัน
ไซปลอกห้า สองงาน ของลุงต่วน รอหันต์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ นอกจากความประณีต สวยงามแล้ว ยังเพิ่มงา ซึ่งเป็นทางเข้าไซ เพิ่มขึ้นเป็น ๒ งา หรือ ๒ทาง แสดงถึงภูมิปัญญาในการสร้าง ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของปลาในชุมชนของช่างในอดีตก็ได้ ส่วนข้องเป็ด ของลุงนา อุ่นใจ เป็นงานศิลปหัตตกรรม
ที่นอกเหนือจากการสร้างงานหัตถกรรมทั่วไป เพื่อประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังใส่ภูมิปัญญาและจินตนาการ เรื่องรูปร่างรูปทรงจากเป็ดซึ่งลอยและว่ายน้ำได้นำมาประดิษฐ์เป็นข้องใส่ปลาที่ลอยและลากตามไปขณะจับปลาในน้ำได้ มีความงดงาม ประทับใจ น่าใช้สอยอีกด้วย
ปัจจุบันงานหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรม เครื่องจักสานที่ใช้ในการหาปลาและสัตว์น้ำ เริ่มสูญหายไป ด้วยเหตุ การทำอาชีพนี้ลดลง ประกอบกับมีการจับปลาและสัตว์น้ำ ด้วยวิธีการและเครื่องมือใหม่ๆ หรือเปลี่ยนอาชีพไปทำงานตามโรงงานกันหมด ส่งผลให้ ช่างฝีมือพื้นบ้านลดจำนวนลง และขาดการสืบทอดอย่างกว้างขวาง
การเก็บข้อมูล ไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
๑. ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด
๒.เพื่อการอนุรักษ์งานจักสานฝีมือพื้นบ้านในท้องถิ่น
๓. เพื่อให้งานหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรม เป็นที่รู้จักและแพร่หลายออกไป
การสานไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี นับเป็นศิลปะงานจักสานฝีมือ สาน ถัก และสอด จนเป็นรูปร่างของชิ้นงาน เป็นงานฝีมือที่ยอมรับในท้องถิ่น เพราะผลงานที่ปรากฏจะมีรูปทรง และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ พร้อมแสดงถึงความเป็นเลิศทางด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือ การสานไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด ซึ่งมีลวดลายหลากหลายรูปแบบ มีความสวยงาม อ่อนช้อยยอดเยี่ยมของคนพื้นบ้าน มีการพัฒนาฝีมือจักสานให้ปรากฎถึง ความประณีต สวยงาม
การสานไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด เป็นฝีมือของคนเก่าแก่พื้นบ้าน ซึ่งมีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ในปัจจุบันมีผู้เฒ่า ผู้แก่ อนุรักษ์รักษาไว้ นั่นก็คือ คุณลุงต่วน รอหันต์ มีความถนัดในการสานไซปลอกห้า สองงา และคุณลุงนา อุ่นใจ มีความถนัดด้านการสาน ข้องเป็ด ซึ่งการสานไซ และข้องเป็ด ถือได้ว่าเป็นงานฝีมือจักสานที่เก่าแก่ที่สุด เพราะคนทั่วไปส่วนใหญ่จะสานไซงาเดียว และข้องธรรมดา แต่คุณลุงทั้งสองยังอนุรักษ์รักษาฝีมือการสานไซ ปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด
ลักษณะพิเศษของไซปลอกห้า สองงา คือ การใช้ตอกสานห้าเส้น ตอกยืน ๑๐๐ เส้น และใส่งา สองข้าง งา หมายถึง ส่วนที่สำหรับดักปลาเข้าไซ โดยทั่วไปจะมีเพียงหนึ่งงา และข้องเป็ด คือ การสานข้องและดัดให้เป็นรูปร่างคล้ายเป็ด และมีทุ่นติดสองข้างเพื่อสำหรับลอยน้ำได้
ช่างฝีมือ นายต่วน รอหันต์
เกิดวันที่ ๑๐ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๗๑/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ได้รับการสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ คือ นายคำ รอหันต์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว โดยได้รับการสืบทอดผลงานเป็นเวลา ๖ ปี
ช่างฝีมือ นายนา อุ่นใจ
เกิดวันที่ - เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ได้รับการสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว โดยได้รับการสืบทอดผลงานเป็นเวลา ๔๐ ปี
ไม้ไผ่บ้านหรือ ไม้ไผ่สีสุก
ไม้ไผ่บ้าน เป็นไม้ไผ่ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น ซึ่งไม้ไผ่บ้านสามารถนำมาจักสาน ของใช้อื่น ๆ ได้อีกหลายอย่าง เช่น กระด้ง กระบุง กระจาด ตะกร้า เป็นต้น
วัสดุที่ใช้ในการผลิตผลงาน
๑. ไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่สีสุก
๒. เถาวัลย์ หรือเชือกพลาสติก
แหล่งที่มาของวัสดุ
ในท้องถิ่น คือ ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
๑. มีดเหลาตอก
๒. มีดอีโต้ สำหรับผ่าไม้ไผ่
๓. ขวาน และเลื่อยโค้ง
ขั้นตอนกระบวนการผลิตและวิธีทำ
ขั้นเตรียมการ
มีขั้นตอนต่างๆ ได้แก่
๑. ตัดไม้ไผ่บ้าน ลำแก่ๆ เพราะจะมีความทนและผิวไม้แข็งดี
๒. ตัดไม้ไผ่บ้านเป็นท่อน ๆ ท่อนละ ๑.๕๐ เมตร.
๓. เมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อน ๆ แล้ว นำมาเหลาตาและข้อของไม้ไผ่ออกให้หมด
๔. ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซีกๆ และเหลาแต่ง
๕. นำไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นซีก ๆ มาจักตอกเป็นเส้น ๆ ตามขนาดของงานสาน
๖. นำเส้นตอก มาเหลาแต่งเป็นตอกยืน และตอกสาน เหลาเนื้อด้านในของไม้ไผ่ ออกเกือบทั้งหมด ให้เหลือผิวไม้ไผ่ด้านนอก เพราะผิวไม้ไผ่ด้านนอกจะมีความทนทาน
ขั้นตอนการผลิต
มี ๒ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ การสานไซ ปลอกห้า สองงา
๑. เมื่อเหลาตอกยืน เป็นเส้นๆ จำนวน ๑๐๐ เส้น เสร็จแล้ว นำเชือกมัดส่วนหัว ไว้ให้แน่น เหลือตอกไว้ ประมาณ ๓ นิ้ว และหันส่วนปลายเข้าหาตัว ดัดตอกทีละเส้นให้เป็นเกลียว หันออกไปทางด้านหน้า เมื่อดัดตอกทุกเส้นเสร็จแล้ว นำเชือกมาสานเพื่อยึดไม่ให้ไม้ไผ่ที่ดัดไว้ขยับเขยื้อน
๒. ใช้ตอกสาน เสียบลงที่ตอกยืนเว้นตอกยืน ๒ เส้น แล้วเสียบตอกสาน จำนวน ๕ เส้น ตอกสาน ๕ เส้น นี้ เรียกว่า ไซปลอกห้า
๓. เมื่อเสียบตอกสานเสร็จแล้ว สานตัวสองขัดหนึ่ง ยกตอกยืนสี่เส้น ตัวหลัง ยกตอกยืนห้าเส้น สานในลักษณะนี้ไปจนกระทั่งสุดเส้นตอกสาน เมื่อตอกสานหมดเส้น จึงเสียบตอกสานเส้นใหม่ แล้วสานไปจนกระทั่งสุดปลายของปากไซ
๔. นำไม้ไผ่เหลาแบน ใหญ่ประมาณ ๑ นิ้ว นำมามัดใส่ที่ไซ ใช้เชือกมัดให้แน่น เพื่อสำหรับเจาะรู ใส่งา และขอบส่วนนี้สำหรับยึดงาให้แน่น
การสานงา ใส่ไซ
๑. วางตอกเหลาแบนที่พื้น จำนวน ๔ เส้น ใช้เท้าเหยียบให้แน่น ไม่ให้ขยับเขยื้อน นำตอกสานเส้นเล็ก สานสลับไปมาจนกระทั่งได้ขนาดของชิ้นงาน
๒. นำส่วนปลายของงาที่สานเสร็จแล้ว มารวบปลายเข้าหากันและใช้ตอกส่วนปลายสานเป็นลายขัด
๓. นำมีดคมๆ ตัดไซ ส่วนที่จะใส่งา ตัดให้เท่ากับขนาดของปากงา
๔. เมื่อตัดเสร็จใช้มีดง้างเพื่อให้มีช่อง แล้วเสียบส่วนแหลมของงาเข้าไป ให้ขอบพอดีกับขอบของไซ
๕. มีดตัดตอกยืนของงา ส่วนปลาย ตัดให้แหลม และเสียบขัดที่ตัวไซ เพื่อยึดงา ให้ติดกับไซให้แน่น เหลาไม้ไผ่กลมทำปลายแหลมทั้งสองด้าน เสียบยึดฐานงาติดกับไซให้แน่นอีก ๑ ชิ้น
๖. ส่วนขอบงาและขอบไซนำเชือกมัดยึดให้แน่น (ทำเหมือนกันทั้งสองงา)
ตอนที่ ๒ การสานข้องเป็ด
๑. ตัดไม้ไผ่เป็นท่อน ท่อนละ ๑ เมตร ผ่าเป็นซีก ๆ ประมาณซีกละ ๑ เซนติเมตร นำมาเหลาแบน ๆ ให้อ่อน เหลาให้เหลือส่วนผิวนอกของไม้ไผ่ การเหลาไม้ไผ่ส่วนนี้เรียกว่า เหลาตอกยืน
๒. เหลาไม้ไผ่เส้นยาว เรียกว่า ตอกสาน ยาวประมาณ ๒ เมตร
๓. เมื่อเหลาตอกยืน และตอกสาน เสร็จแล้ว นำตอกยืนวางเรียงที่พื้น วางราบ ที่พื้น ๑๐ เส้น ส่วนหัวตอกยืนใช้เท้าเหยียบ และส่วนปลายใช้ไม้ทับ ไม่ให้ขยับเขยื้อน เส้นขัด สานเป็นลายขัด ๑๐ เส้น ส่วนนี้เรียกว่า ก้นข้องเป็ด
๔. เมื่อสานลายขัดก้นข้องเป็ดเสร็จแล้ว นำไม้ปลายแหลมเสียบเป็นกากบาท ทับกัน จำนวน ๒ ชิ้น ขัดที่พื้นของก้นข้องเป็ด เพื่อยึดให้ก้นข้องเป็ดแน่น
๕. เมื่อสานก้นข้องเป็ด เสร็จแล้ว ใช้ตอกสาน ๒ เส้น เสียบสานเริ่มตรงหักมุม เพื่อสานขัดกับตอกยืน สานไปจนกระทั่งตอกสานหมดเส้น แล้วเสียบเส้นใหม่ สานต่อไปจนกระทั่งเต็มทั้งตัวข้องเป็ด
๖. เมื่อสานตัวข้องเป็ดจนเต็มตัวแล้ว นำเชือกมารัด ตรงส่วนกลาง รัดเข้าหากัน จากวงกลม รัดให้เป็นวงรี เพื่อดัดให้เป็นรูปตัวเป็ด
๗. เมื่อใช้เชือกรัดตรงกลางตัวแล้ว จะมีส่วนหางกับส่วนหัว พับตอกยืนเส้นกลาง ๑ เส้น และเส้นที่เหลือสานเป็นลายขัด สานจนกระทั่งไปถึงคอ ส่วนก้น และส่วนหลัง ข้องเป็ด สานเป็นลายขัด โดยใช้ตอกยืนสาน
๘. ส่วนคอไปจนถึงปากข้องเป็ด ใช้ตอกสานสอดแล้วสานกับตอกยืน สานจนกระทั่งเสร็จ และส่วนปากเหลาไม้ไผ่เหลาแบน รัดให้เป็นวงกลม ที่ปากข้องเป็ด แล้วใช้เชือกสานรัดยึด ให้แน่นสนิท
๙. ตัดไม้ไผ่ จำนวน ๒ ท่อน ท่อนละ ๓๐ เซนติเมตร เพื่อสำหรับติดด้านข้าง ข้องเป็ด เชือกรัดติดกับข้องเป็ดให้แน่น ส่วนนี้เรียกว่า ทุ่นข้องเป็ด
พิกัดสถานที่ตั้ง ในเขตตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี (ไซ)
ในเขตตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี (ข้องเป็ด)
สรุปผลการวิเคราะห์
ภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ของช่างฝีมือ การสานไซปลอกห้า สองงา และข้องเป็ด
ตามแนวทางการศึกษาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มีดังนี้คือ
1. ด้านปัจจัยสิ่งแวดล้อม
จากการศึกษาพบว่า ชุมชนของช่างฝีมือ มีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนดในการสร้างชิ้นงาน คือ ติดกับที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำที่เหมาะกับการหาปลาและสัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นดินแดนแห่งต้นไผ่ จึงเกิดภูมิปัญญาในการนำวัสดุท้องถิ่น มาสร้างเป็นงานจักสานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
2. ตัวงานหัตถกรรม
ช่างฝีมือพื้นบ้านได้รับการถ่ายทอดทักษะ และวิธีการจากบรรพบุรุษ โดยจุดประสงค์แรกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยในการดำรงชีวิต เพิ่มเติมจากอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อมีเวลาว่างจึงทำเพื่อแบ่งปัน จำหน่ายให้กับคนในชุมชน รูปแบบชิ้นงาน เกิดจากการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ด้วยกระบวนการสร้างที่ประณีตงดงาม
- ด้านวัฒนธรรม
เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนา ประกอบกับเป็นพื้นที่มีแหล่งน้ำ ชาวบ้านจึงออกหาปลาและสัตว์น้ำ ไซ ใช้เป็นที่ดักจับปลาและสัตว์น้ำ เมื่อได้แล้วจึงใส่ไว้ในข้อง บางครั้งเมื่อลงในน้ำลึกการสะพายข้องไม่สะดวก จึงใช้ภูมิปัญญาติดทุ่นเข้าที่ข้องให้ลอยน้ำได้ ตลอดจนมีจินตนาการให้ข้องใส่ปลาลากจูงไปในน้ำ เป็นคล้ายดังตัวเป็ดลอยน้ำได้ จึงดัดแปลงรูปแบบ ของข้องให้ดูมีความงดงามขึ้น
- ด้านการใช้สอย
ไซ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดักจับปลาและสัตว์น้ำ เกิดจากการการนำไม้ไผ่ที่เป็นวัสดุท้องถิ่นมาใช้ มีน้ำหนักเบา ขนย้ายง่าย ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น คือมีการเพิ่มงาหรือปากทางเข้าไซ เป็น ๒ ที่ เพื่อให้ปลาเข้าได้ง่าย ไม่เบียดเสียดจนหนีออกไปก่อน ข้องเป็ด ของลุงนาใช้ทุ่นจากกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งบางแห่งใช้ไม้โสนหรือวัสดุอื่นที่ลอยน้ำ แสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการเลือกใช้วัสดุ อย่างมีหลักการและเหตุผล เนื่องจากต้นไผ่จะมีลักษณะเป็นปล้องกลวงอยู่แล้ว การตัดไผ่ให้เป็นปล้องนำมาใช้เป็นทุ่น แสดงให้เห็นถึงความฉลาดและช่างสังเกตของช่างฝีมือพื้นบ้าน
- ด้านความงาม
งานจักสานทั้ง 2 ชิ้น เป็นงานที่ประณีต ละเอียด ไม่สร้างขึ้นเพียงเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างเดียว ยังมีการดัดแปลงรูปทรงของชิ้นงานตามความคิดสร้างสรรค์ จนเกิดรูปร่างที่งดงามลงตัว น่าใช้สอย และมีความงามที่ลงตัวได้สัดส่วนที่งดงามและสนองการใช้ได้สมบูรณ์
ข้อมูลนี้ เป็นข้อมูลที่เสี่ยงต่อการสูญหาย เนื่องจากอาชีพจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือโบราณเริ่ม หมดไป และที่สำคัญ ช่างฝีมือจะมีการสืบทอดต่อไปได้อีกนานเท่าใด ในเมื่ออาชีพจักสานมีรายได้น้อย ทนต่อสภาวะเศรษฐกิจไม่ได้